สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 68 ขยายตัวร้อยละ 1.88 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อานิสงส์ยานยนต์ฟื้นตัว 123bet vip การส่งออก-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุนการผลิตนายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2568 อยู่ที่ระดับ 100.79 ขยายตัวร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.14 สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนหลักต่อภาคการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยขยายตัวร้อยละ 12.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการผลิตเพื่อส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าที่ได้จองไว้จากงานมอเตอร์โชว์ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ โครงการคุณสู้เราช่วยที่ขยายเวลาลงทะเบียน โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง มีมูลค่าส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งส่งออกไปยังสหรัฐฯ ก่อนที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า โดยมีมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) อยู่ที่ 23,552 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.3
อย่างไรก็ตาม จากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจน 123bet vip ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศอาจจะชะลอตัว ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยหลักจากค่าเงินบาทแข็ง สินค้าทะลักจากต่างประเทศ การบริโภคภาคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่อยอดขายของสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวม นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวมีการชะลอตัว เนื่องจากปัญหาต่อเนื่องจากเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์และเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของไทย รัฐบาลจีนยังส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวมีความคิดว่าการเที่ยวในไทยมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าการเที่ยวประเทศที่มีลักษณะคล้ายกันสำหรับระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทยเดือนมิถุนายน 2568 “ส่งสัญญาณเฝ้าระวังต่อเนื่อง” โดยปัจจัยในประเทศชะลอตัวต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่หดตัวจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้านปัจจัยต่างประเทศ ภาพรวมยังคงต้องเฝ้าระวังภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าทั้งญี่ปุ่นและยูโรโซนที่ชะลอตัวลง และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะการค้าในตลาดโลกสำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนพฤษภาคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.64 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.56 กาแฟ ชา และน้ำสมุนไพร หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 80.83 จากผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป เป็นหลัก เนื่องจากการหยุดผลิตชั่วคราวเป็นเดือนที่ 5 ของผู้ผลิตรายสำคัญ
|