เว็บไซต์ Sportiva ออกมารายงานถึงเรื่องราวของผู้รักษาประตูต่างชาติในศึกฟุตบอลเจลีกของญี่ปุ่น ว่าทำไมถึงได้รับกระแสนิยมแพร่หลายเป็นจำนวนมาก โดยฤดูกาล 2020 ในช่วงเลกแรกมีผู้รักษาประตูต่างชาติในเวทีลีกสูงสุดถึง 13 ราย แบ่งออกเป็น เกาหลีใต้ 9 ราย ส่วนอีก 4 ราย มาจากบราซิล,ไทย,โปแลนด์ และ ออสเตรเลีย โดยในฤดูกาลนี้มีถึง 12 ทีม ที่เลือกส่งชื่อผู้รักษาประตูต่างชาติไว้ในทีมเพื่อลงแข่งขัน
สื่อดังกล่าวรายงานว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสโมสรเจลีก1 พึ่งพาผู้เล่นต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับ ตำแหน่งผู้รักษาประตู ฤดูกาลที่แล้วแกนหลักในตำแหน่งนี้เป็นผู้เล่นต่างชาติถึง 8 สโมสร ผู้รักษาประตูเกาหลีใต้โดดเด่นมากๆ ซึ่งเหตุผลของฟุตบอลอาชีพการแข่งขันระดับมืออาชีพก็ควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้รักษาประตูญี่ปุ่นหรือชาวต่างชาติ นั่นเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตามหาก ผู้รักษาประตูของญี่ปุ่นตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทีมชาติในอนาคต เพราะขาดประสบการณ์จากเกมลีก
แต่ก็ยังอุ่นใจอยู่บ้างที่ช่วงหลังๆ ทีมในเจลีก 1 ซีซั่นนี้เริ่มเพิ่มเติมชื่อผู้รักษาประตูญี่ปุ่นอายุน้อยเข้าไป ทั้ง ยูมะ โอบาตะ วัย 18 ปี ของเซนได, ยูยะ โอกิ วัย 21 ปี ของคาชิม่า แอนท์เลอร์, อากิโอะ ทานิ วัย 19 ปี ของโชนัน เบลมาเร่ และ โทโหงะ อุเมดะ วัย 20ปี ของชิมิสึ เอสพัลส์ ที่เพิ่งลงช่วยต้นสังกัด อนาคตผู้รักษาประตูญี่ปุ่นจะก้าวขึ้นมาทดแทนผู้รักษาประตูต่างชาติมากขึ้น เพราะญี่ปุ่นมีโครงการพัฒนาตำแหน่งผู้รักษาประตูอย่างจริงจัง ในช่วงที่ผ่านมาโดยเน้นวัย 15-18 ปี โครงากรนี้ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1999
โดยทางด้านของ มาซาคูนิ ยามาโมโตะ หนึ่งในวิทยากรเผยว่าที่ผ่านมาจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้รักษาประตูชาวเกาหลีใต้มีการป้องกันประตูขั้นสูงและเปิดบอลได้ยอดเยี่ยมมาก แต่ผู้เล่นอายุน้อยของญี่ปุ่นเริ่มเล่นฟุตบอลโดยเน้นที่การเสริมสร้างจากระดับเยาวชนซึ่งก็พัฒนาได้ดีขึ้นโดยเฉพาะการใช้เท้าสองข้างและมือทั้งสองข้าง ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายพัฒนาผู้รักษาประตูแจ้งชัดเจนตั้งแต่ฤดูกาลที่ผ่านมาว่าผู้รักษาประตูต้องใช้เท้าส่งบอลให้ผู้เล่นในทีมและออกมาส่งบอลนอกกรอบเขตโทษมากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในเกมรุก นี่เป็นงานเร่งด่วนในการฝึกฝน ผู้รักษาประตูชาวญี่ปุ่นเพื่อเร่งการแข่งขันในระดับโลกให้ทัน
เพิ่มเติม : newjerseyclinicaltrials.com
|