[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
สรุปแล้ว โรคกลัวทะเล มีจริงหรือแค่จิตหลอน ?  VIEW : 137    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 519
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 18
Exp : 46%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.232.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:49:45    ปักหมุดและแบ่งปัน

สรุปแล้ว โรคกลัวทะเล มีจริงหรือแค่จิตหลอน ?

     เชื่อไหมคะว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ถ้ามีแพ็กเกจเที่ยวทะเลฟรี ๆ ก็สามารถเมินหนีได้หน้าตาเฉย หรือบางรายอาจแสดงอาการขนลุกขนพองแถมให้อีกต่างหากถ้าบังเอิญมีรูปภาพทะเลให้เขาเห็นด้วย นั่นเพราะเขามีอาการของ โรคกลัวทะเล อยู่ยังไงล่ะคะ และหากคุณก็เป็นอีกคนที่ไม่กล้าลงเล่นทะเล หรือไม่กล้าแม้แต่จะเห็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวใด ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสน้ำเลย รวมทั้งแม่น้ำลึก ๆ ด้วย ลองมาเช็กกันค่ะว่า โรคกลัวทะเลเป็นโรคที่เรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่าทะเลประกอบด้วยธรรมชาติที่สวยงาม รายล้อมไปด้วยน้ำสีคราม ทรายสีนวลที่นุ่มละมุน ท้องฟ้าอันสดใส และต้นมะพร้าวที่พลิ้วไสว ทำให้ดึงดูดผู้คนมาตากแดดอาบลม เซลฟี่เก็บความทรงจำ แต่สงสัยกันไหมทำไมมีผู้คนบางกลุ่มถึงไม่ยอมลงเล่นน้ำบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าพวกเขากำลังเป็น โรคกลัวทะเล อยู่ก็เป็นได้ 

โรคกลัวทะเล (Thalassophobia)

คือโรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองของคุณนั้นเกิดอาการวิตกกังวลทันที สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู 

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง กลัวทะเล

  • อัตราการเต้นหัวใจถี่ขึ้น หรือหายใจเร็ว
  • เหงื่อออกทั่วร่างกาย
  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • กระสับกระส่าย
  • วิตกกังวลมากกว่าปกติ
  • เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ)

โรคกลัวทะเล มีสาเหตุมาจากอะไร

โรคกลัวทะเลอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

          – เกิดจากภาพอุบัติเหตุทางน้ำที่เห็นได้บ่อย ๆ ในภาพยนตร์ ข่าว และสารคดี โดยเฉพาะประเด็นสัตว์ใต้ท้องทะเลที่น่ากลัว มีพิษรุนแรง หรือเหตุเรือล่มที่น่าหดหู่ใจ เป็นต้น

          – เกิดจากประสบการณ์ฝังใจ โดยบางคนอาจเคยเกือบจมน้ำทะเล โดนคลื่นทะเลซัดความเค็มเข้าปากและจมูก เป็นต้น

          – เกิดจากคำสั่งสอนของผู้ปกครองในแนว ๆ ว่า อย่าเข้าใกล้ทะเล เดี๋ยวโดนคลื่นซัดหายไป อย่าลงเล่นน้ำ เดี๋ยวจมหาย เป็นต้น

          – เกิดจากความผิดปกติของยีน หรือความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจกระทบให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตหลั่งออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ขาดตรรกะในบางเรื่อง หรือส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึกผิดแผกไปจากปกติได้

หากคุณจำเป็นที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ขอให้คุณอยู่ในระยะที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างต้น

สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวทะเล อย่างไม่มีเหตุผล

มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเกิดอาการกลัวทะเล มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำลึก อาจเป็นเพราะคุณเคยมีความทรงจำฝังใจที่ไม่ดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้

ปัจจัยทางพันธุกรรม :

การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอดอาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า เพื่อสร้างความปลอดภัย คุณจึงจดจำสิ่งที่ถูกถ่ายทอด และทำให้ติดตัวคุณมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม :

คือสิ่งที่คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว เช่น เหตุการณ์เกือบจมน้ำ เห็นคนจมน้ำทุรนทุราย ดูสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ใต้ทะเลมากเกินไป เมื่อพบเห็นสถานที่นั้นจึงไปกระตุ้นด้านความคิด และจิตใจ ทำให้เกิดอาการสั่นกลัว

ปัจจัยการพัฒนาของสมอง :

เมื่อไม่ได้รับการบำบัดช่วยเหลือ การพัฒนาของสมองอาจตอบสนองต่อความกลัวโดยอัตโนมัติ และการทำงานของระบบประสาทวนอยู่ที่เดิมทำให้ไม่สามารถควบคุมต่อความกลัวนี้ได้

รู้ไหม โรคกลัวทะเล สามารถรักษาให้หายได้นะ

เช็คอาการของคุณ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางแพทย์อาจให้คุณเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัด ซึ่ง นักจิตวิทยาจะสอนให้คุณควบคุมอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมบางอย่าง และเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวกอย่างมีระบบ การบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย

ในแหล่งข้อมูลการศึกษาที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง ปี 2013 นักวิจัยใช้เทคนิค การสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ (CBT) ต่อความผิดปกติบางประการของอาการกลัว นักวิจัยพบว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางประสาทของสมอง มีผลในเชิงบวกด้านความคิด และการไตร่ตรองเหตุผล

หลายคนอาจรักทะเล อยากไปเที่ยวทะเลอยู่เนือง ๆ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นทะเลแล้วขยาด บางคนอาจไม่กล้ามองแม้แต่รูปภาพซะด้วยซ้ำ !

โรคกลัวทะเล

          เชื่อไหมคะว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ถ้ามีแพ็กเกจเที่ยวทะเลฟรี ๆ ก็สามารถเมินหนีได้หน้าตาเฉย หรือบางรายอาจแสดงอาการขนลุกขนพองแถมให้อีกต่างหากถ้าบังเอิญมีรูปภาพทะเลให้เขาเห็นด้วย นั่นเพราะเขามีอาการของโรคกลัวทะเลอยู่ยังไงล่ะคะ และหากคุณก็เป็นอีกคนที่ไม่กล้าลงเล่นทะเล หรือไม่กล้าแม้แต่จะเห็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวใด ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสน้ำเลย รวมทั้งแม่น้ำลึก ๆ ด้วย ลองมาเช็กกันค่ะว่า โรคกลัวทะเลเป็นโรคที่เรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า

โรคกลัวทะเล (thalassophobia) คืออะไร

          ถ้าถอดจากรากศัพท์แล้วต้องอธิบายว่า thalassophobia เป็นภาษากรีก โดย thalasso หมายถึงทะเล ห้วงมหาสมุทร หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ส่วน phobia ก็คือความกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างผิดปกติ กลัวเกินเหตุ กลัวอย่างไม่มีเหตุผล ดังนั้นคำว่า thalassophobia จึงแปลว่าโรคกลัวทะเลนั่นเองค่ะ       

          อย่างไรก็ตาม โรคกลัวทะเลจัดเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง คือมีความรู้สึกกลัวน้ำเค็ม กลัวคลื่นขนาดใหญ่ กลัวความลึกของน้ำที่เหมือนจะห่างไกลพื้นดิน หรือกลัวระยะห่างจากชายฝั่ง กลัวสิ่งที่ไม่มีรากฐานให้ยึดเกาะ และในบางเคสอาจรู้สึกกลัวความเวิ้งว้างที่ดูไร้ซึ่งขอบเขตของท้องทะเลหรือแม่น้ำที่กว้างใหญ่ หรือบางคนสามารถเห็นทะเลได้ แต่ถ้าให้ลงไปเล่นก็ไม่กล้า เพราะมีความกลัวโลกใต้ผืนน้ำที่ดูช่างลึกลับจับใจ

โรคกลัวทะเลมีสาเหตุมาจากอะไร

          โรคกลัวทะเลอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

          – เกิดจากภาพอุบัติเหตุทางน้ำที่เห็นได้บ่อย ๆ ในภาพยนตร์ ข่าว และสารคดี โดยเฉพาะประเด็นสัตว์ใต้ท้องทะเลที่น่ากลัว มีพิษรุนแรง หรือเหตุเรือล่มที่น่าหดหู่ใจ เป็นต้น

         – เกิดจากประสบการณ์ฝังใจ โดยบางคนอาจเคยเกือบจมน้ำทะเล โดนคลื่นทะเลซัดความเค็มเข้าปากและจมูก เป็นต้น

          – เกิดจากคำสั่งสอนของผู้ปกครองในแนว ๆ ว่า อย่าเข้าใกล้ทะเล เดี๋ยวโดนคลื่นซัดหายไป อย่าลงเล่นน้ำ เดี๋ยวจมหาย เป็นต้น

          – เกิดจากความผิดปกติของยีน หรือความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจกระทบให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตหลั่งออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ขาดตรรกะในบางเรื่อง หรือส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึกผิดแผกไปจากปกติได้

โรคกลัวทะเลอาการเป็นอย่างไร

          ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วใครคิดว่าลักษณะโรคกลัวทะเลดูคลับคล้ายคลับคลากับเรา เอาเป็นว่าลองมาเช็กอาการโรคกลัวทะเลให้ชัดกันไปข้างเลยดีกว่า

  1. ตัวสั่น เหงื่อแตก ใจเต้นไม่เป็นส่ำ เมื่อมองเห็นคลื่นทะเล หรือแม่น้ำที่มีความลึกและกว้างใหญ่
  2. หากได้ดูรูปภาพ สารคดี หรือภาพยนตร์ที่มีฉากการตายในทะเล ฉากเรือล่ม มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก หรือเห็นภาพข่าวเหตุการณ์สึนามิจะรู้สึกกลัวแทบหยุดหายใจ  ต้องรีบหันหน้าหนีจากภาพนั้น หรือในบางคนอาจมีอาการเห็นภาพหลอนเหล่านั้นให้อยู่ไม่เป็นสุขไปอีกสักระยะหนึ่ง
  3. ถ้าต้องล่องเรือ หรือลงไปสัมผัสน้ำทะเลจะมีอาการใจสั่น ตัวชา ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ และหากมีอาการกลัวมาก ๆ อาจถึงขั้นเป็นลมล้มพับ กรี๊ด วิ่งหนี หรืออาเจียนออกมา

          อย่างไรก็ตาม อาการของโรคกลัวทะเลในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีระดับความกลัวมาก-น้อยต่างกัน โดยบางคนสามารถเดินริมชายหาดได้ แต่ให้ไปเล่นน้ำก็ไม่เอาเด็ดขาด หรือระหว่างที่อยู่บนชายหาด ยืนอยู่ริมน้ำ หรือริมน้ำตก ก็มักจะจินตนาการว่าตัวเองจะตกลงไป ถูกกระแสน้ำพัดหายไป หรือมีอะไรบางอย่างใต้น้ำมาดึงให้เราจมดิ่งลงไปและไม่กลับขึ้นมาอีกเลย เรียกง่าย ๆ ว่าสมองสั่งให้หลอนตัวเองไปก่อน ทั้ง ๆ ที่เท้ายังไม่ได้แตะน้ำซะด้วยซ้ำ ซึ่งอาการแบบนี้จะบ่งชี้ว่าเป็นโรคกลัวทะเลหรือกลัวน้ำลึกก็ได้เหมือนกัน

โรคกลัวทะเลรักษาได้ไหม

วิธีรักษาโรคกลัวทะเลในแนวทางจิตวิทยาอาจทำได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. การสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy)

          เป็นการรักษาความกลัวด้วยการที่นักจิตวิทยาจะขุดรากถอนโคนถึงสาเหตุของความกลัวนั้น ๆ แล้วค่อย ๆ เคลียร์ต้นเหตุของความกลัวออกไปทีละอย่าง ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็อาจช่วยลดความวิตกกังวลให้ผู้ป่วยได้ หรืออาจบำบัดจนหายจากอาการกลัวทะเลไปเลยก็มี

  1. การจัดพฤติกรรมของสมองและใต้จิตสำนึก (Neuro-linguistic programming therapy)

          หรือที่ในวงการจิตแพทย์เรียกกันว่าการรักษาแบบ NLP โดยจะค่อย ๆ ปรับความเข้าใจกับผู้ป่วยให้เขาหลุดออกจากโลกแห่งความกลัวที่สร้างขึ้นมาหลอนตัวเอง ซึ่งแม้วิธีนี้จะต้องใช้เวลาในการรักษา (ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วย) แต่ก็เป็นวิธีรักษาโรคกลัวทะเลและโรคโฟเบียอื่น ๆ ที่ค่อนข้างได้ผลดีวิธีหนึ่ง

สรุป

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในจิตใจ นักบำบัดอาจให้คุณเผชิญกับสิ่งที่คุณกลัวโดยตรง เช่น การดูวิดิโอเกี่ยวกับข้องกับมหาสมุทร หรือพาคุณไปชายหาดนั่งจุ่มเท้า โดยมีนักบำบัดอยู่ใกล้ๆ เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายคุณอาจคุ้นชิน และสามารถสลายความกลัวของโรคนี้เองได้ 

แหล่งที่มา

https://health.kapook.com

https://mydeedees.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5_%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80/



วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002