[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
Alice in Wonderland Syndrome โรคนี้มีจริงหรือ  VIEW : 117    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 519
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 18
Exp : 46%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.232.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 17:14:22    ปักหมุดและแบ่งปัน

Alice in Wonderland Syndrome มองของเล็กเป็นใหญ่ เห็นสิ่งไม่มีชีวิตขยับได้

ไม่ว่าจะเคยดูหรือไม่ แต่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อวรรณกรรมเรื่อง อลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice’s Adventures in Wonderland) ของ ลูอิส แคร์รอล (Lewis Carrol) กันมาบ้างล่ะ เพราะถูกนำมาทำเป็นการ์ตูนและภาพยนตร์หลายเวอร์ชั่นจนโด่งดังทั่วบ้านทั่วเมือง ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และเพียงแค่เห็นชื่อเรื่องก็คงเก็ตคอนเซปต์กันได้ไม่ยากว่าเป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซี ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น เพราะในเรื่องก็เต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์มากมาย อย่างสัตว์พูดได้หรือสิ่งของมีชีวิต

ด้วยความที่ดินแดนมหัศจรรย์ที่สาวน้อยอลิซหลงเข้าไปนั้น ช่างพิศวงและชวนฝันเสียยิ่งนัก บางคนอาจจะเคยจินตนาการภาพตัวเองวิ่งเล่นอยู่ในดินแดนนั้นบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่รู้กันหรือไม่ว่า ในโลกความเป็นจริงก็มีอลิซอยู่เหมือนกันนะ แต่เป็นในรูปแบบของอาการเจ็บป่วยทางจิต หรือความผิดปกติทางระบบประสาทต่างหากล่ะ

ดินแดนมหัศจรรย์​ จากภาพยนตร์สู่เรื่องจริง

Alice in Wonderland Syndrome (AIWS) หรืออีกชื่อคือ Dysmetropsia เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีอยู่จริง แต่หาได้ยาก โดยลักษณะอาการเกิดจาก ‘การบิดเบือน’ ของการรับรู้ทางสายตา กล่าวคือ ภาพที่ผู้ป่วยโรค AIWS เห็นจะมีความผิดปกติหรือเกินความเป็นจริง เช่น มองเห็นสิ่งของเล็ก-ใหญ่หรือใกล้-ไกลเกินความเป็นจริง เห็นสิ่งของที่ไม่มีชีวิตสามารถเคลื่อนไหวได้ หรือมีการรับรู้เกี่ยวกับเวลา เสียง การสัมผัส หรือภายนอกของบุคคลอื่นที่ต่างไปจากคนทั่วไปเห็น ราวกับอลิซที่อยู่ในดินแดนมหัศจรรย์

คำว่า AIWS ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1955 หรือหลังจากวรรณกรรมถูกตีพิมพ์ออกมาได้ 90 ปี โดยจิตแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ทอดด์ (John Todd) เป็นผู้กล่าวถึงอาการของโรคนี้จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทำให้ AIWS มีอีกชื่อหนึ่งคือ Todd’s Syndrome ด้วย

ปกติเราจะคิดว่าการเห็นภาพหลอนหรือภาพที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เป็นอาการของคนที่ใช้สารเสพติดหรือยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทเท่านั้น (ถึงขั้นมีการสันนิษฐานว่าผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ อาจใช้ยาบาง) แต่จริงๆ แล้วการเห็นภาพหลอนนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้สารหรือยาใดๆ 

หากใครเคยเป็นไมเกรนจะรู้ว่าเป็นการปวดหัวที่รุนแรงและทรมานมาก คล้ายกับว่าหัวเราจะระเบิดให้ได้เลย ทำไมถึงพูดถึงไมเกรนขึ้นมาล่ะอ้างอิงจากการศึกษาในปี ค.ศ.2016 มีการพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิด AIWS นั้นมาจากไมเกรน ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนเกิดไมเกรน โดยผู้ป่วยจะเห็นภาพที่บิดเบี้ยวก่อน แล้วจากนั้นก็มีอาการปวดหัวรุนแรงตามมา แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ อันจัน แชตเทอร์จี (Anjan Chatterjee) นักประสาทวิทยาที่ Penn Medicine รัฐฟิลาเดลเฟีย เคยอธิบายไว้ว่า ปกติแล้วออร่า (Aura) หรือสัญญาณเตือนก่อนเกิดไมเกรน จะทำให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ผิดปกติ แต่การเกิดออร่านั้น ไม่จำเป็นต้องนำมาสู่อาการปวดหัวที่รุนแรงเสมอไป หรือไม่ปวดหัวเลยก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Silent Migraine

ทอดด์เองก็เคยสันนิษฐานไว้ว่า AIWS นั้นมีความเชื่อมโยงกับไมเกรนและโรคลมบ้าหมูเช่นกัน แต่เขาไม่ใช่คนแรกที่อธิบายถึงอาการของ AIWS เพราะก่อนหน้านั้นก็มีผู้ที่อธิบายอาการที่คล้ายคลึงกัน เช่น ทหารที่ได้รับบาดแผลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้คาดว่าสาเหตุอื่นๆ ของ AIWS อาจมาจากการได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ โรคลมบ้าหมูชั่วขณะ หรือการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr Virus (EBV) เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไข้สมองอักเสบหรือสมองบวมได้ด้วย

จากผลการศึกษาในปี ค.ศ.2016 เผยว่า ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา พบอาการของ AIWS ได้รวมแล้ว 42 อาการ เช่น มองเห็นสิ่งของใหญ่เกินจริง (Macropsia) เล็กเกินจริง (Micropsia) เส้นตรงกลายเป็นคลื่น (Dysmorphopsia) เส้นแนวตั้งกลายเป็นเส้นเอียง (Plagiopsia) วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนไหวได้ (Kinetopsia) สิ่งของมีรูปร่างแบนหรือกลายเป็นสองมิติ (Loss of Stereoscopic Vision) หรือดวงตาทุกดวงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ (Prosopometamorphopsia)

โดยผลการรายงานที่เคยถูกบันทึกไว้ มีกรณีของชายวัย 30 ปีคนหนึ่ง แจ้งว่าเขามีอาการปวดหัวเป็นระยะเวลานาน โดยเหมือนมีจังหวะเต้นอยู่ที่หัวด้านซ้าย กินเวลานานถึง 24 ชั่ว และมักจะเกิดขึ้นสัปดาห์ละครั้ง โดยก่อนที่มีอาการปวดหัว เขามีอาการคลื่นไส้ร่วมกับกลัวแสงและเสียงโดยรอบ

เขายังระบุอีกว่า วัตถุรอบตัวเขานั้นดูใหญ่เกินความเป็นจริง นิ้วมือของเขาเล็กเกินความเป็นจริง และวัตถุรอบตัวของเขาก็ดูเสียรูปไปหมด และหลังจากเกิดอาการเหล่านั้น 30 นาที อาการปวดหัวไมเกรนของเขาก็ตามมา โดยเขาประสบกับเหตุการณ์นี้มาประมาณ 1 ปีแล้ว ซึ่งแพทย์พบประวัติไมเกรนในแม่และน้องสาวของเขา แต่ไม่มีอาการทางจิตเวชใดๆ ส่วนผลจากการตรวจระบบประสาทและร่างกายของเขานั้นปกติดี ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่พบความผิดปกติในการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กและคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยเขาได้รับยาเป็นกรด Valporic 500 มก./ต่อวัน หลังจากนั้นก็มีรายงานว่าเขาอาการดีขึ้น จนกระทั่งหายสนิท แม้ระหว่างนั้นจะมีการปรับเพิ่มยาเป็น 1000 มก. บ้าง

และยังมีกรณีที่แปลกมากๆ เนื่องจากหาภาวะเรื้องรังที่เป็นต้นเหตุไม่ได้ กรณีนี้เกิดขึ้นกับเด็กชายวัย 8 ขวบ ซึ่งรายงานว่าเขามีการรับรู้ที่ผิดปกติซ้ำๆ นั่นก็คือ การมองเห็นสิ่งของเล็กเกินความเป็นจริง ไกลเกินความเป็นจริง และเส้นตรงกลายเป็นคลื่นไปหมด โดยตอนแรกผู้ป่วยมาที่แผนกฉุกเฉินด้วยโรคคอหอยอักเสบจากเชื้อเสตรปโทคอคคัส

เมื่อไข้และอาการปวดหัวจากโรคคอหอยอักเสบของเขาหายไป ไม่ถึง 24 ชั่วโมงต่อมา ผู้ป่วยมีอาการเห็นภาพที่บิดเบือนดังที่ได้กล่าวไป ซึ่งอาหารเหล่านี้กินเวลา 5-15 นาที และหายไปเองตามธรรมชาติ ที่น่าแปลกก็คือระหว่างนั้นเขาไม่มีอาการผิดปกติๆ ใดร่วมด้วย ไม่ปวดหัวหรืออ่อนเพลียใดๆ นอกจากนี้ เขาและครอบครัวยังไม่มีประวัติส่วนตัวว่าเป็นไมเกรน โรคลมบ้าหมู และโรคทางระบบประสาทใดๆ ทำให้แพทย์สงสัยว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับโรค AIWS 

แต่ด้วยความที่เขาไม่มีภาวะเรื้อรังที่เป็นต้นเหตุ ถึงแม้จะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแล้วก็ตาม ทำให้ครอบครัวมองว่าอาการดังกล่าว อาจไม่ร้ายแรงหรือมีพิษภัยอะไรนัก สามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ ซึ่งหลังจากนั้น 2 ปีก็พบว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติในการรับรู้ หรือปวดหัวไมเกรนเลย

ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยโรค AIWS นั้นพบได้น้อยมาก และยังไม่วิธีรักษาที่แน่ชัด แต่หากพบอาการร่วมหรือโรคที่ตามมาหลังจากมีภาวะภาพบิดเบือน เช่น ไมเกรนหรือลมบ้าหมู แพทย์ก็อาจแนะนำให้รับประทานยาเกี่ยวกับไมเกรน ยากันชัก หรือยาเฉพาะของโรคนั้นๆ หรืออาจมีการสแกนสมองด้วยวิธี MRI ร่วมด้วย เพื่อตรวจหารอยโรคต่างๆ ที่ส่งผลให้การทำงานของสมองผิดปกติ แต่ทั้งนี้ ยังไม่มีการจ่ายยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช เนื่องจากแพทย์มองว่า AIWS ยังไม่เข้าข่ายความผิดปกติทางจิต

สรุป

ไม่ว่าการมองเห็นเหล่านั้นจะดูแฟนตาซีมากแค่ไหนก็ตาม แต่อาการของโรคนี้ก็สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยอย่างมาก ซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน และควรหาโอกาสไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด ก่อนจะได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงมากไปกว่านี้

แหล่งที่มา

https://thematter.co/

https://mydeedees.com/alice-in-wonderland-syndrome-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad/



วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002