อ.จุฬาฯ เล่าประวัติลูกทุ่ง สุดปัง 84 ปี แนะอย่าเหมารวมเป็น ‘วัฒนธรรมคนจน’
อ.จุฬาฯ เล่าประวัติลูกทุ่ง จากที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 84 ปี ของวงการเพลงลูกทุ่งไทย โดยโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดโครงการจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจําปี 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมลูกทุ่งไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และถ่ายทอดเรื่องราวของไทยผ่านยุคสมัย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันลงในบทเพลงต่างๆ
อ.จุฬาฯ เล่าประวัติลูกทุ่ง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม
ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล เปิดเผยว่า สำหรับที่มาของโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากลนั้น สืบเนื่องจากเมื่อประมาณ 34 ปีที่ผ่านมา มีการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลุกทุ่งไทย ซึ่งเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งก็มีการจัดอยู่ตลอด ซึ่งตนเป็นคนที่นั่งดูและประทับใจมาก และเมื่อมาเป็นอาจารย์ในคณะนิเทศศาสตร์ ทางคณะนิเทศศาสตร์มีภารกิจที่สำคัญทางด้านการศึกษา วิชาการ และงานวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ซึ่งทางคณะให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งการนิเทศศาสตร์อยู่แล้ว จึงรวบรวมภาคี นักวิชาการ นักวิชาชีพ และสมาคมลูกทุ่ง ร่วมร่างโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากลขึ้นมา
ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดโครงการจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจําปี 2566 โครงการนี้จะทบทวนและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงลูกทุ่งไทยและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ พร้อมกับขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่จะใช้หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย การจัดแสดงคอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2567
ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า
ก่อนที่จะมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทยนั้น ทางโครงการฯ ยังมีภาระกิจอื่นในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ดังนี้ 1.การจัดเสวนาลูกทุ่งไทย 4 ภาค ซึ่งจะจัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร 2.การจัดการประกวดหางเครื่อง โดยจะรับสมัครน้องๆ นักเรียนนักศึกษาส่งทีมเข้าร่วมประกวด โดยจัดควบคู่ไปกับการเสวนาย่อยที่จะมุ่งถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้ที่ได้รับจากศิลปินลูกทุ่งของแต่ละภาค 3.การผลิตสารคดีสั้นร้อยรสความทรงจำวัฒนธรรมลูกทุ่งไทย จำนวน 24 ตอน และ4. การจัดทำหนังสือร้อยรสความทรงจำ 84 ปี ลูกทุ่งไทย โดยจะรวบรวมทุกองคายพที่เกี่ยวกับลูกทุ่งให้ได้มากที่สุด ซึ่งหนังสือนี้จะเปิดให้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเพื่อหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย
ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับความเป็นมาลูกทุ่งไทย ถูกกำนดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลุกทุ่งไทย” โดยนับจาก พ.ศ. 2481 ที่ถือว่ามีเพลงลูกทุ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คือ เพลง “โอ้สาวชาวไร่” ประพันธ์เนื้อร้องและทำนอง โดยครูเหม เวชกร เพื่อให้ คํารณ สัมบุณณานนท์ ขับร้อง เป็นเพลงประกอบการแสดงละครวิทยุ ซึ่งก็มีทั้งคนที่มองว่าเพลงลูกทุ่งน่าจะมีก่อนหน้านั้น หรือบางคนมองว่าเพลงลูกทุ่งเริ่มมีไม่นาน ประมาณ 59 ปีที่ผ่านมานี่เอง
“ในปัจจุบันจะมีวาทะกรรมว่า เพลงลูกทุ่งนั้น ไม่ใช่เพลงผู้ดี เป็นเพลงตลาด คนที่ฟังเพลงลูกทุ่งเป็นคนต่างจังหวัด และเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนชีวิตต่างจังหวัด แต่เมื่อเวลาผ่านมา ถ้าเราลองสำรวจเพลงลูกทุ่งหลายๆเพลง จะเห็นว่าเพลงลูกทุ่งเป็นดนตรีที่ว้าวมาก ผสมผสานดนตรีอื่นๆเข้ามา และเนื้อหาเพลงก็มีการวิวัฒน์ เพราะมีการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ สังคม เศษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมของไทย เช่น เพลงความรักเหมือนเกมกีฬา ของโรม ศรีธรรมราช ปล่อยในช่วงที่ประทเศไทยเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ใน พ.ศ.2512 หรือเพลงน้ำมันแพง ของ สรวง สันติ ก็เป็นช่วยที่เกิดวิกฤตน้ำมันเกิดขึ้นในไทย หรือในยุคต่อๆมาก็จะมีมือถือ การโทร มีไลน์ มีเฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก อยู่ในเนื้อเพลงด้วย มาดอนน่า ศิลปินระดับโลกแต่งตัวอย่างไร นักร้องลูกทุกเราก็แต่งตัวอย่างนั้น ดังนั้นเพลงลูกทุ่ง จึงเป็นวัฒนธรรมบันเทิง ที่ไม่ใช่บันเทิงเพียงอย่างเดียว แต่เป็นที่เก็บรวบรวมเรื่องราวความเป็นไปของสังคม และทำให้คนที่ฟังได้เติบโตไปพร้อมกัน”ผศ.ดร.สุกัญญา
สรุป
ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวต่อว่า หลายคนมองว่าไม่อยากให้ลูกทุ่งตายไป ต้องส่งเสริมเด็กและเยาวชน ตนมองว่า เราต้องส่งเสริมคนไทยทั้งประเทศให้เห็นว่าเพลงลูกทั่งนั้นสำคัญ และการที่ชอบเพลงลูกทุ่งไม่ใช่เรื่องเฉย เราสามารถที่จะเต้นและร้องไปพร้อมกับ ลิซ่า BLACKPINK ได้ เพราะรสนิยมวิไลเสมอไม่ว่าคุณจะชอบศิลปะชนิดไหน อย่าให้มีการบอกว่าถ้าชอบเพลงลูกทุ่งแล้วคุณจะเฉย อย่าเกิดวัฒนกรรมการเขิน หรืออายที่จะบอกว่าชอบเพลงลูกทุ่ง และอย่าเหมารวมว่าลูกทุ่งนั้น เป็นวัฒนธรรมของคนภูมิภาคหนึ่ง หรือของคนจน แต่เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่รวบรวมวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทย ที่ทุกคนสามารถชอบได้หมด
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/07/09/%e0%b8%ad-%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%ac%e0%b8%b2%e0%b8%af-%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%b8/
|