กัณวีร์ ไม่ขอยุ่งเรื่องสืบสวนค้ามนุษย์ แต่ ขออย่ากีดกั้นการศึกษาเด็กชายขอบ
ขออย่ากีดกั้นการศึกษาเด็กชายขอบ กรณีที่เด็กนักเรียนอายุ 5-16 ปี จำนวน 126 คน ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 (ราษฎร์อุปถัมภ์) อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ถูกส่งตัวกลับพื้นที่ต้นทางที่จังหวัดเชียงราย เพื่อส่งตัวให้ผู้ปกครองและผลักดันออกนอกประเทศ ภายหลังจากที่มีการดำเนินคดีกับนางกัลยา ทาสม ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ในข้อหานำพาและย้ายไปปฏิบัติงานที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง โดยล่าสุดเด็กๆ ทั้ง 126 คน ถูกนำตัวไปยังสถานสงเคราะห์ 5 แห่งในจังหวัดเชียงราย เพื่อรอผู้ปกครองมารับและบางส่วนถูกส่งตัวกลับประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเนื่องจากเด็กๆ กลุ่มนี้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันและการผลักดันอาจทำให้เด็กกลับไปสู่อันตรายนั้น
วันที่ 8 กรกฎาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.พรรคเป็นธรรม ซึ่งติดตามเรื่องนี้ ได้โพสต์ในทวิตเตอร์ อธิบายถึงเรื่องที่ยังมีบางคนตั้งคำถามว่า 1.เด็กเหล่านี้เป็นเด็กต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทำไมไทยต้องรับผิดชอบ โดยนำภาษีของประชาชนคนไทยดูแล 2.เรื่องนี้ไม่ใช่ขบวนการนำพา พ่อแม่ผู้ปกครองน้องๆ เต็มใจส่งมาเอง เทียบเท่ากับการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่ใช่ทั้งนำพา/การค้ามนุษย์ แบบนี้ไม่ใช่เหยื่อ แต่เป็นผู้กระทำผิดสิ
นายกัณวีร์อธิบายว่า
“ผมขอเสนอแนวทางที่จะทำให้ความเห็นที่มาจากเพื่อนๆ กลายเป็นสิ่งที่น่าจะสามารถทำได้จริง และแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนโดยเร็วครับ ดังนี้ครับ เรื่องภาษีของประชาชนไทยที่ต้องนำมาดูแลนั้น ผมอยากจะเสนอแบบนี้ครับ
“เรื่องการศึกษาสำหรับทุกคน” มันเป็นนโยบายชาติครับ มันคลุมการศึกษาทั้งระบบ มิได้แบ่งสัญชาติในโรงเรียน ดังนั้นเราต้องจัดการนโยบายนี้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด โดยส่วนใหญ่โรงเรียนที่รับนักเรียน G Code คือโรงเรียนชายขอบ โดยเฉพาะฝั่งเหนือและตะวันตก (ติดกับเมียนมา) ในปัจจุบันมีสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาและมีผู้ลี้ภัยเยอะมาก
ขออย่ากีดกั้นการศึกษาเด็กชายขอบ ดังนั้นควรเร่งจัดระบบการศึกษาในโรงเรียนชายขอบ
ไม่ใช่แค่ฝั่งเมียนมา แต่ควรครอบคลุมทั่วชายแดนไทยและเพื่อนบ้าน นำสถานการณ์ชายแดนปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะด้านเมียนมา พิจารณาจัดทำโครงการ “ประตูสู่มนุษยธรรม” (Humanitarian Coordidor) เพื่อให้การสนับสนุนทางมนุษยธรรมต่อผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำความรู้ด้าน Education in Emergency (EiE) “การทำการศึกษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่เป็นงานด้านมนุษยธรรมในเวทีโลก มาจัดระเบียบการศึกษาของโรงเรียนชายขอบทั้งหมดของไทย
ระหว่างไปเยี่ยมเด็กๆ 35 คน จาก 126 คน ที่บ้านพักฉุกเฉินแห่งหนึ่งใน จ.เชียงราย
ส่วนคำถามที่ว่า แล้วเอาเงินที่ไหนมาดูแลล่ะ เป็นภาษีคนไทยอีกรึเปล่า นายกัณวีร์อธิบายว่า แทนที่เราจะปิดกั้นการศึกษาของเด็ก เราเปิดโอกาสดีกว่าครับ เพราะเราสามารถหาทรัพยากรภายนอกมาสนับสนุนเด็กๆ ได้ หากไทยเราชิงความเป็นผู้นำในการเสนอรูปแบบ EiE และเสนอต่อกลุ่มประชาคมระดับภูมิภาค อย่างอาเซียน ผ่าน AHA และเวทีโลกอย่าง UNICEF และกลุ่มประเทศโลกเสรีในการรับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณหรือทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
สรุป
เนื่องจากไทยได้แสดงความเป็นผู้นำที่ริเริ่มในเรื่องดังกล่าว ถ้าเราทำแบบนี้ ข้อกังวลเรื่องการใช้ภาษีคงหมดไป แถมเราเปิดโอกาสด้านมนุษยธรรมต่อเด็กๆ ที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ของโลก ไทยจะชิงเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านการศึกษาในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยังไม่มีประเทศใดในแถบภูมิภาคนี้ริเริ่ม และสุดท้ายยกระดับและพัฒนาระบบการศึกษาบริเวณพื้นที่ชายขอบของไทย
ส่วนเรื่องการค้ามนุษย์นั้น ผมคงต้องขอแรงจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวนให้เต็มที่นะครับ เพราะคงไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตามระบบยุติธรรมได้ ขอให้ทุกท่านเคารพในหลักการสากล และรวมถึง พ.ร.บ.การให้ความคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เรื่อง #การคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก ให้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดนะครับ
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/07/09/%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b9%80/
|