‘สพฐ.’ ปลื้มตัวเลข พาน้องกลับมาเรียนพุ่ง กว่า 99% ฟุ้งปี 66 เด็กหลุดระบบแค่ 2.8 พันคน
พาน้องกลับมาเรียนพุ่ง นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการพาน้องกลับมาเรียน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีเด็กบางกลุ่มหลุดออกนอกระบบการศึกษา ด้วยหลายสาเหตุหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่ทำให้มีเด็กต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของสพฐ. มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดูแลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ก็ได้ติดตามนักเรียนกลับมา โดยใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเป็นปกติของครูและสถานศึกษา ที่จะติดตาม เยี่ยมบ้านถ้าเด็กขาดเรียน หรือ ไม่มาโรงเรียนเกิน 3 – 7 วัน
11 สาเหตุเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2565-2566 สพฐ.ได้ทำการวิจัยเรื่องเด็กหลุดจากระบบการศึกษาด้วยรูปแบบ Design Research in Education โดยพบ 11 สาเหตุที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ได้แก่
-
ความจำเป็นของครอบครัว
-
การย้ายถิ่นที่อยู่
-
รายได้ไม่เพียงพอ
-
ปัญหาสุขภาพหรือความพิการ
-
ปัญหาความประพฤติหรือการปรับตัว
-
ผลกระทบจากโควิด 19
-
การเสี่ยงต่อการกระทำผิด
-
การคมนาคมไม่สะดวก
-
การสมรส
-
ผลการเรียน
-
ผู้ปกครองไม่ใส่ใจ
โดยตัวเลขเด็กหลุดออกจากระบบที่พบในปีการศึกษา 2564 หรือ ปีงบประมาณ 2565 มีจำนวน 28,134 คน สามารถติดตามพบตัว 28,038 คน โดยได้นำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและให้ความช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็นรายบุคคล โดยมีทั้งที่กลับเข้าเรียนในสถานศึกษาของ สพฐ. ทั้งโรงเรียนเดิม โรงเรียนใหม่ สถานศึกษาอาชีวศึกษา
รวมถึงการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. และโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขณะเดียวกันมีเด็กที่ติดตามไม่พบตัว 22 คน และเสียชีวิต 74 คน
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวถึง พาน้องกลับมาเรียนพุ่ง ต่อว่า
ในปีงบประมาณ 2565-2566 สพฐ.ได้ทำการวิจัยเรื่องเด็กหลุดจากระบบการศึกษาด้วยรูปแบบ Design Research in Education โดยพบ 11 สาเหตุที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ได้แก่ ความจำเป็นของครอบครัว การย้ายถิ่นที่อยู่ รายได้ไม่เพียงพอ ปัญหาสุขภาพหรือความพิการ ปัญหาความประพฤติหรือการปรับตัว ผลกระทบจากโควิด 19 การเสี่ยงต่อการกระทำผิด การคมนาคมไม่สะดวก การสมรส ผลการเรียน และผู้ปกครองไม่ใส่ใจ ซึ่งตัวเลขเด็กหลุดออกจากระบบที่พบในปีการศึกษา 2564 หรือ ปีงบประมาณ 2565 มีจำนวน 28,134 คน สามารถติดตามพบตัว 28,038 คน นำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นรายบุคคล มีทั้งที่กลับเข้าเรียนในสถานศึกษาของ สพฐ. ทั้งโรงเรียนเดิม โรงเรียนใหม่ สถานศึกษาอาชีวศึกษา รวมถึงการศึกษานอกระบบในสังกัด กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) และโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขณะเดียวกันมีเด็กที่ติดตามไม่พบตัว 22 คน และเสียชีวิต 74 คน ส่วนปีการศึกษา 2565 หรือ ปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 2,835 คน ซึ่งเป็นตัวเลขการออกกลางคันที่ลดลง และได้ติดตามกลับเข้ามาเรียนแล้ว และบางส่วนก็เป็นเด็กที่ข้ามมาเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่กลับเข้ามาเรียนต่อ
สรุป
“จากการดำเนินการดังกล่าวต้องถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เพราะสามารถนำเด็กกลับเข้าระบบและให้ความช่วยเหลือตามความต้องการของเด็กถึง 99.66% แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวล คือ จะทำอย่างไรจึงจะรักษาเด็กกลุ่มนี้ไว้ไม่ให้หลุดออกจากระบบซ้ำอีก ขณะเดียวกันก็มีปัญหาใหม่อีกว่า เด็กที่เรียนอยู่ก็มีแนวโน้ม หรือ มีความเสี่ยงจะหลุดออกจากระบบเป็นกลุ่มใหม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากสำหรับ สพฐ. ทำให้ ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ สพฐ.จึงได้มีนโยบายต่อเนื่องโดยทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข ประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดภัย และประกาศให้เดือนมิถุนายน เป็นเดือนแห่งการเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยให้โรงเรียนทุกโรง ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงเยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ทราบถึงความเป็นอยู่และความต้องการจำเป็นที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน”นายอัมพร กล่าว
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/07/04/%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%87-%e0%b8%81/
|