ทีนส์ทอล์กอาเซียน : เจ้าเหรียญทอง ป่านยูยิตสู สร้างวินัย มีน้ำใจนักกีฬา
ป่านยูยิตสู ดิฉัน น.ส.ณีรนุช แหวนเพ็ชร ชื่อเล่น “ป่าน” ชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมและพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) นักกีฬายูยิตสู รางวัลเหรียญทองกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ศรีสะเกษเกมส์ เหรียญทองชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 12 เหรียญทอง SIAM CUP WINTER 2022 ชนะเลิศ เหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัย 2 สมัย คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 47 The Sun Games 2020 ล่าสุดคว้าเหรียญทอง ดอกจาน บ้านเชียงเกมส์ ตัวแทนประเทศไทยแข่งชิงแชมป์เอเชีย ระดับประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566
ที่ชื่นชอบกีฬายูยิตสู เพราะเป็นกีฬา และศิลปะป้องกัน ที่สามารถใช้ได้จริงๆ ศิลปะการต่อสู้ยูยิตสู ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากใน อเมริกา ยุโรป และเอเชีย เนื่องจากการเล่น หรือการแข่งขันนั้น สามารถใช้ทุกองค์ประกอบทั้ง แตะต่อย ทุ่ม ล็อค จับ และหัก มีครบถ้วนทุกกระบวนท่าการป้องกันตัว เป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาต่อสู้ที่เป็นที่นิยมฝึกกันทั่วโลก ตัวเองจึงสนใจ โดยเริ่มจากการคิดแค่จะเล่นสนุกๆ เหมือนการเล่นกีฬาทั่วไป เพียงเพราะอยากดูแลสุขภาพตัวเองให้มากขึ้น แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ ก็พบว่ากีฬายูยิตสู สามารถเปลี่ยนหลายๆ สิ่งในตัวเราให้ดีขึ้น
ถือว่าเป็นจุดพลิกของชีวิตเราเลยก็ว่าได้ เช่น
กระบวนการทางความคิด หรือที่เรียกว่า กรอบความคิด (Mindset) เราเปลี่ยนไป เพราะการที่เราจะเป็นนักกีฬาที่ดีนั้น จะต้องมี Mindset ที่ดี ซึ่งมันแทบจะเป็นพื้นฐานหลักของนักกีฬาที่ดีเลยก็ว่าได้ ต้องขยัน อดทน ทุ่มเทเสียสละเวลา มีระเบียบตั้งแต่การฝึกซ้อมจนถึงเรื่องการกิน การนอน คือในทุกๆ วัน ถ้าเรามีพวกนี้ ชีวิตเราเปลี่ยนแน่นอน
อีกเหตุผลที่สนใจกีฬายูยิตสู เพราะเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ผู้หญิงสามารถเอาชนะผู้ชายได้ คนตัวเล็กสามารถชนะคนตัวใหญ่ได้ เป็นกีฬาที่ทำให้เราได้เรียนรู้ร่างกายกายของตัวเอง ว่าถึงแม้เราจะตัวเล็ก แต่ก็มีสิทธิชนะคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่กว่าด้วยเทคนิคต่างๆ ส่วนตัวจะชอบประเภท Newaza เพราะว่าเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ด้วยท่านอน
ป่านยูยิตสู เริ่มลงแข่งขันครั้งแรกเมื่อชั้น ม.3
โดยฝึกซ้อม Seif defense กับอาจารย์ Akkalux thippawong จากนั้นได้แข่งขันรายการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้ฝึกซ้อมที่ EMAC : Executive Martial Arts Center ผู้ฝึกสอน Prof. Niti Techottiasnee Prof. Lee Livingstone Prof. Chinook Auscharanuwat Prof. Ozan Slm ถือได้ว่าแต่ละขอบสนาม ช่วยเสริมสร้างโอกาส และประสบการณ์ที่ดี
ประโยชน์จากการเล่นกีฬายูยิตสู ทำให้มีทักษะการป้องกันตัวเอง สุขภาพร่างกายแข็งแรง ฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา ต้องอยู่ในกฎระเบียบ ต้องรักษาวินัย อันดับแรกเลย เวลาซ้อมเราก็จะต้องทำให้ดีที่สุด สอง ต้องดูแลสภาพร่างกายไม่ให้รับบาดเจ็บ สาม เรียนวิศวะก็ต้องทำหน้าที่ตรงนั้นให้ดีเช่นกัน
สรุป
ภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย และอยากจะฝากข้อคิดดีๆ ไว้ว่าการแข่งขันกีฬา จะชนะหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ แต่ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี ได้ทำหน้าที่เต็มที่ มีวินัย จนให้เกิดผลสำเร็จ สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองให้กับตัวเอง
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/07/04/%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b8%a2%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b9-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%8d%e0%b8%97/
|