ธนาคารโลกปรับจีดีพีไทยโต 3.9% อานิสงส์นักท่องเที่ยวจีนพุ่งดันเศรษฐกิจฟื้น
“ธนาคารโลก” ปรับขึ้นประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เป็น 3.9% แต่มองระยะยาวศักยภาพการเติบโตประเทศไทยลดลง ชี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำท่องเที่ยวส่งออกสะดุด ลงทุนหยุดชะงักจากการตั้งรัฐบาลช้า ด้าน สศค.เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน วอน แบงก์รัฐ-แบงก์พาณิชย์ ปรับโครงสร้างหนี้จริงจังไม่ทำแค่ยืดหนี้ จับมือ ธปท.กำหนดเพดานดอกเบี้ย สร้างสัญญาเช่าซื้อเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) เปิดรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือน มิ.ย.66 ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 66 เพิ่มเป็น 3.9% จากเดิม 3.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือน เม.ย.66 ถือเป็นการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งขึ้นจากที่ขยายตัว 2.6% ในปี 65 โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ในระยะข้างหน้าการท่องเที่ยวอาจจะชะลอลงบ้างจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวเนื่องจากความต้องการซื้อที่ลดลงในประเทศเศรษฐกิจหลักการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวในปี 65 จากการเปิดประเทศ ในปีนี้จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็ถือว่ายังคงแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นของตลาดแรงงานและความต้องการท่องเที่ยวจากจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่การลงทุนภาครัฐจะอ่อนแอ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ใช้เวลานาน
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 67 และ 68
คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.6% และ 3.4% ตามลำดับ โดยการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ขณะที่มองว่า ความต้องการซื้อภายนอกประเทศอ่อนตัวลง สำหรับศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งชะลอลงจากกว่า 3.6% ในช่วงปี 53-62 ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะกลับมาเกินดุลในปี 66 ที่ 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หลังจากที่ขาดดุลตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 2% ในปี 66 ท่ามกลางราคาพลังงานโลกที่เริ่มผ่อนคลาย การตรึงราคาสินค้า และการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ ทั้งนี้ การตรึงราคาพลังงานในประเทศ ซึ่งรวมถึงไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 3 จะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี แต่ในทางตรงกันข้ามการควบคุมราคาพลังงานและการขนส่งสาธารณะอาจส่งผลให้การกระจายรายได้ถดถอยลง ลดประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร บิดเบือนกระบวนการเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th
ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th
ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net