[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
“เศรษฐกิจไทย” รอไม่ได้ หวั่นตั้งรัฐบาลไม่ทัน ส.ค.  VIEW : 112    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1788
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 34
Exp : 38%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.10.213.xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 8 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2566 เวลา 09:23:26    ปักหมุดและแบ่งปัน

“เศรษฐกิจไทย” รอไม่ได้ หวั่นตั้งรัฐบาลไม่ทัน ส.ค. ทุนต่างชาติหนีซบเวียดนาม ฉุดจีดีพีเหลือโตแค่ 2%

ไม่ใช่แค่ความว้าวุ่นใจของตลาดทุนไทยหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีสัญญาณเงินทุนต่างชาติ ไหลออกจากพันธบัตรและหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลนับตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน พบ “ต่างชาติ” โยกเงินออกไปแล้วนับแสนล้านบาท สะท้อนความอ่อนไหวทางการเมืองที่มีผลต่อความเชื่อมั่น

ขณะนักลงทุนต่างรอคอยการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ รวมไปถึงการแถลงนโยบายครั้งแรก โดย “พรรคก้าวไกล” ซึ่งว่ากันว่าความเข้มข้นของนโยบายหลักอาจเป็นตัวชี้เป็น-ชี้ตายของภาวะตลาดนับหลังจากนี้

ไทม์ไลน์การ “จัดตั้งรัฐบาล” อย่างสมบูรณ์แบบ ที่ส่อแววว่าจะขยับออกไป ไม่ทันต้นเดือนสิงหาคม เพื่อปิดสวิตช์รัฐบาล “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ให้เร็วที่สุด จากคำร้องต่างๆ ที่ไหลเข้ามาในการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ภาคเอกชนเริ่มมีความกังวลใจมากขึ้นถึงทิศทางเศรษฐกิจไทย เพราะมองไปข้างหน้า “เศรษฐกิจโลก” ในช่วงครึ่งปีหลัง อาจฟื้นตัวได้น้อยกว่าที่คาดกันไว้ เพราะตัวหลักอย่าง เศรษฐกิจจีน ไม่ได้ฟื้นตัวแข็งแกร่ง หลังการเปิดประเทศ อย่างที่คิด ขณะ สหรัฐฯ-ยุโรป ยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยแรง ทำให้เครื่องยนต์หลักอย่าง “การส่งออก” ของไทย ติดลบติดต่อกันมาแล้ว 7 เดือน โดยความหวังที่ว่า “การส่งออก” ของไทย ปี 2566 ยังมีโอกาสขยายตัวนั้น อาจพลิกกลับมาเป็นติดลบได้

++ ส่งออก-ต้นทุนสูง กดทับเศรษฐกิจไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกแนวโน้มย่ำแย่ เพราะภาคอุตสาหกรรมของจีนไม่ได้ฟื้นตัวอย่างที่แข็ง การส่งออกจีนมีปัญหา แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มคลี่คลายแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคภายในของจีนยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

ต่างกับภาวะ “เศรษฐกิจไทย” ที่ในขณะนี้ไทยส่งออกไม่ได้ เพราะคำสั่งซื้อจากทั่วโลกลดลง แต่ภาคอุตสาหกรรมยังต้องรักษาการผลิตไว้เพื่อพยุงการจ้างงานไม่ให้ได้รับผลกระทบ อีกทั้งยังมีปัญหาต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ โดยเฉพาะ SME ที่แบกรับภาระ “ดอกเบี้ย” แพงว่าผู้ผลิตขนาดใหญ่ ยังไม่นับรวมแนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 450 บาท ตามแผนของรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าจะพรรคก้าวไกล หรือ พรรคเพื่อไทย ที่มีการประกาศผลักดันในทิศทางเดียวกัน ต่างกันแค่ห้วงเวลา ทั้งหมดกลายเป็นความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจไทย

“เศรษฐกิจไทย” รอไม่ได้ หวั่นตั้งรัฐบาลไม่ทัน ส.ค. ทุนต่างชาติหนีซบเวียดนาม ฉุดจีดีพีเหลือโตแค่ 2%

++เอกชน ห่วง ส.ค.ยังไม่เห็น “รัฐบาล” ชุดใหม่

คำเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลเข้ามาช่วยประคับประคองผู้ผลิตภาคการส่งออกให้อยู่รอด จนกว่าเศรษฐกิจโลกจะสดใสมากขึ้น มาพร้อมๆ กับความไม่แน่ใจว่า 8 พรรคการเมืองซึ่งนำโดยพรรคก้าวไกลจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ทันวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ตามไทม์ไลน์ที่ควรจะเป็นหรือไม่

นายเกรียงไกร เผยว่า ได้มีการเจรจาพูดคุยกับทูตในโซนยุโรป พบหลายประเทศ กำลังจับตาดูการจัดตั้งรัฐบาล และสถานการณ์การเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากผลการเลือกตั้งในประเทศสะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากได้อะไร และจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงกว่า 70% ก็แสดงว่าคนไทยตื่นตัวอย่างมาก โดยอยากเห็นการปฏิรูปเชิงโครงสร้างและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่

“ต่างชาติ” ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญในแง่เศรษฐกิจไทย ผ่านการค้า-การลงทุน ก็ตื่นตัวถึงการเปลี่ยนแปลงในไทยเช่นกัน อีกทั้งการเมืองยังมีผลต่อทิศทางความร่วมมือ การเจรจาทางการค้า และการลงทุนหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยมีข้อตกลงร่วมกับหลายๆ ชาติ ก่อนหน้านี้

“ต่างชาติเป็นห่วง เพราะหลายประเทศเพิ่งจะเริ่มทำ FTA กับไทย เขาไม่อยากเห็นการเจรจาหยุดชะงัก ถ้าการเมืองไทยไม่มีความเรียบร้อย ก็อาจเพลี่ยงพล้ำให้แก่เพื่อนบ้านในภูมิภาคได้”

++จับตา รัฐบาลดีเลย์ นำไปสู่การประท้วง

เหตุผลที่เอกชน นักธุรกิจ และต่างชาติ กังวลมาก เพราะเดิมได้วางแผนการลงทุนล้อกับไทม์ไลน์ทางการเมืองไว้แล้ว ซึ่งหากการจัดตั้งรัฐบาลตรงตามไทม์ไลน์หลัก ก็จะเป็นผลดีในการดึงการลงทุน ในทางตรงกันข้ามกัน หากมีอะไรผิดพลาด การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีถูกเลื่อนขยับออกไปจากเดือนสิงหาคม และมีการยื้อต่อรายเดือน จนเกิดการเรียกร้อง ลงถนนประท้วง ผ่านความไม่พอใจของมวลชนสนับสนุน หวั่นว่าจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างวงกว้าง ฉุดทั้งภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยในยามนี้ และทิศทางการลงทุน จนอาจทำให้เศรษฐกิจไทยกระทบ ฉุดจีดีพีหล่นลง 1% จากเดิมที่ตั้งไว้ จีดีพีไทย ปี 2566 จะขยายตัว 3-3.5% อาจเหลือแค่ 2-2.5% จากภาพประเมินผลกระทบดังนี้ ในกรณีที่การเมืองร้อนแรง

1.ต่างชาติ กลุ่มนักท่องเที่ยวตกใจ จากที่เคยวางแผนไว้ว่าจะเข้ามาท่องเที่ยว ก็เปลี่ยนไปประเทศอื่นแทน เป็นผลกระทบที่จะเห็นฉับพลัน หลังความวุ่นวายเกิดขึ้น ฉะนั้น เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติที่วางไว้ 30 ล้านคนในปีนี้ ซึ่งจะทยอยเข้ามามากในช่วงไฮซีซั่น กรณีถ้าไทยมีประท้วง ยอดนักท่องเที่ยวต่อเดือนอาจหายไปนับล้านคน

2.ผลกระทบต่อเนื่องจากการขยาดไม่มาลงทุนของต่างชาติ ในรูปแบบการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) และแนวโน้มการลงทุนของคนในประเทศ เพราะการลงทุนต้องอาศัยการวางแผน และมีระยะรอดูสถานการณ์ได้ไม่นาน แค่ 2-3 เดือนเท่านั้น โดยนักลงทุนเฝ้ารอกันมาตั้งแต่หลังการเลือกตั้งแล้ว ไม่สามารถรอได้นานกว่านี้

“ไทม์ไลน์การเมืองมีผลต่อความมั่นใจและการตัดสินใจของนักลงทุนไทย และต่างชาติ ถ้าวันนี้การจัดตั้งรัฐบาลทำได้ ส.ค.จบ ก็จะเป็นผลดีกับไทย แต่ถ้าดีเลย์ การเมืองไม่นิ่ง มีความวุ่นวาย จนเกิดการประท้วง จะกระทบต่อทั้งการท่องเที่ยว และการลงทุน ลุกลามทิศทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง ปีนี้จีดีพีจะหายไปราว 1% แต่สำคัญกว่าคือ ทิศทางปีต่อๆ ไป เพราะแผนการย้ายฐานการผลิตรอไม่ได้ ไทยไม่นิ่ง ต่างชาติก็ไปหาตัวเลือกใหม่ๆ”

++ ส้มหล่น “เวียด “เศรษฐกิจไทย” รอไม่ได้ หวั่นตั้งรัฐบาลไม่ทัน ส.ค. ทุนต่างชาติหนีซบเวียดนาม ฉุดจีดีพีเหลือโตแค่ 2%นาม” ทุนต่างชาติหนีซบ

ภายใต้เศรษฐกิจไทยรอไม่ได้…อีกทั้งยังมีแนวโน้มการกระชากค่าแรงขึ้นสู่ 450 บาทต่อวัน โดยที่แรงงานยังไม่ได้รับการยกระดับพัฒนาทักษะให้สอดคล้อง กำลังกลายเป็น โอกาสของประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่าง “เวียดนาม”

ซึ่งประธาน ส.อ.ท. ระบุว่า ด้วยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้นักลงทุน และ โรงงานที่เคยหลักลงปักฐานในจีน กำลังหาทางเคลื่อนย้ายออก รวมทั้งผู้ผลิตจีนด้วย เพราะหวั่นว่าการส่งออกจากจีนในอนาคตจะถูกกีดกันโดยสหรัฐฯ ทำให้แข่งขันไม่ได้

ขณะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเนื้อหอม ใครๆ ก็อยากเข้ามาลงทุน โดย “ไทย” อยู่ในอันดับต้นๆ ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน และมีประเทศสิงคโปร์เป็นเบอร์ 1 แต่ไม่ใช่คู่แข่งสำคัญกับไทย เพราะเป็นฐานการผลิตคนละตลาด แต่ประเทศที่มีโครงสร้างคล้ายไทย และกำลังแย่งชิงเม็ดเงินลงทุนกันอยู่ คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่ มาเลเซีย แข่งกับไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับต้นและกลาง

ซึ่งเดิมทีไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ตลาดใหญ่ของโลก แต่ได้รับผลกระทในช่วงโควิด-19 วันนี้ เราเลยหนีไปแข่งกับมาเลเซียในหมวดอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแทน แต่ในภาคการแรงงานเราอาจพ่ายให้เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งแก้ไขยาก

“สมมติวันนี้ถ้ามี 4 โรงงานกำลังจะย้ายออกจากจีน มีแนวโน้มที่ 3 โรงงานจะไปเวียดนาม หลุดมาไทยแค่ 1 เท่านั้น เพราะเราแข่งเรื่องแรงงานไม่ได้”

ท้ายที่สุด นายเกรียงไกร ระบุว่า วันนี้ประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกล หรือขั้วการเมืองไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาล แต่สภาอุตสาหกรรม และภาคเอกชน 3 สถาบัน อยากเห็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเพื่อก้าวผ่านคำว่าประเทศรายได้ระดับปานกลาง ไปสู่ประเทศรายได้สูง และการผลักดันอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-Curve) ให้เกิดขึ้นได้จริง เพราะไทยสู้เรื่องจำนวนแรงงานและค่าแรงไม่ได้ อีกทั้งต้องเร่งผลักดันมิติของเศรษฐกิจยั่งยืน หรือ Sustainable Economy ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่จะไปถึงตรงนี้ได้ รัฐบาลต้องออกมาตรการ หรือแพ็กเกจดึงดูดการลงทุนมารองรับ เพื่อให้ต่างชาติตบเท้าเข้ามาลงทุนจากความต่างที่เรามี เป็นต้น.

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net





วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002