[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
อาหารประเภทไหนที่ผู้ป่วย ” โรคไต ” ควรเลี่ยง  VIEW : 139    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 795
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 22
Exp : 88%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.78.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 23:50:00    ปักหมุดและแบ่งปัน

อาหารประเภทมี “ฟอสฟอรัส” ที่ผู้ป่วย ” โรคไต ” ควรหลีกเลี่ยง

หลายคนอาจจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การควบคุมอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไตจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะโซเดียม (Sodium) ตัวร้าย ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงกันให้ดี แต่รู้กันหรือเปล่าคะว่า สารฟอสฟอรัส ก็เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่ผู้ป่วยโรคไตควรระวังมากไม่แพ้กันเลย วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำ อาหารฟอสฟอรัสสูง ที่ผู้ป่วย โรคไต ควรหลีกเลี่ยง มาให้ทุกคนได้รับทราบกัน

มาทำความรู้จักโรคไตกัน ว่าคืออะไร?

คือ ภาวะที่ไตทำงานได้น้อยลงหรือผิดปกติ ซึ่งหน้าที่ของไตคือการกำจัดของเสียและสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมน การควบคุมน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย ฯลฯ เมื่อไตทำงานได้น้อยลงจึงไม่สามารถกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายได้ ระดับฮอร์โมนผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย

อาการของโรคไต วิธีสังเกตว่าเป็น โรคไต ไตเรื้อรัง

อาการของ โรคไต มักเกิดจากที่ร่างกายสะสมของเสียมากเกินไปจนส่งผลต่อระบบต่างๆ และฮอร์โมนที่ผิดปกติเพราะไตทำงานน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายสะอึก ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป
  • ผิวแห้ง ระคายเคืองผิว คัน
  • มีอาการบวมน้ำ ตัวบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน
  • ปัสสาวะผิดปกติ อาจมากหรือน้อยต่างกัน มักจะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • เป็นตะคริวบ่อยๆ

ทำไมผู้ป่วย โรคไต ถึงควรระวังอาหารฟอสฟอรัสสูง?

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นหนึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นสารอาหารสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารต่างๆ รวมไปจนถึงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง หรือเครื่องดื่ม ที่อาจจะมีการใส่สารฟอสฟอรัสในรูปแบบของสารปรุงแต่งหรือสารกันบูด เพื่อช่วยยืดอายุของอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่เราจะบริโภคฟอสฟอรัสมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และทำให้เกิดฟอสฟอรัสสะสมอยู่ในเลือด

สำหรับคนปกตินั้น การบริโภคฟอสฟอรัสมากเกินไปนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่อันตรายอะไร เพราะไตของเราสามารถช่วยขับฟอสฟอรัสส่วนเกินออกไปจากร่างกายได้ผ่านทางปัสสาวะ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายได้ดีตามปกติ ก็อาจทำให้มีฟอสฟอรัสปริมาณมากสะสมอยู่ในร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

หากร่างกายของเรามีฟอสฟอรัสมากเกินไป ฟอสฟอรัสนั้นอาจจะไปดึงเอาแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกออกมา จนทำให้กระดูกและฟันเปราะบาง และอาจจะแตกหักง่าย แคลเซียมที่ถูกดึงออกมานั้นก็จะอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ระดับของแคลเซียมในเลือดมากเกินไป นำไปสู่ภาวะแคลเซียมเป็นพิษ ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ปอด ดวงตา หรือหัวใจอีกด้วย

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตจึงควรระมัดระวังการบริโภค อาหารฟอสฟอรัสสูง มากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากภาวะฟอสฟอรัสมากเกินไปนั่นเอง

อาหารฟอสฟอรัสสูงที่ควรเลี่ยง

นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

โดยเฉลี่ยแล้วคนเรานั้นจะได้รับฟอสฟอรัส 20-30% จากนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่างๆ นมนั้นเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในนม 1 ถ้วย อาจจะมีปริมาณของฟอสฟอรัสมากถึง 35% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยพวกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมพร่องมันเนย หรือไม่มีไขมัน มักจะมีปริมาณของฟอสฟอรัสมากกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันเต็ม

ถั่วต่างๆ

แม้ว่าโดยปกติแล้ว เราอาจจะรู้กันว่าการรับประทานถั่วนั้นดีต่อสุขภาพ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ แต่การรับประทานถั่วมากๆ อาจจะไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคไตเพราะในพืชตระกูลถั่วไม่ว่าจะเป็น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง หรือถั่วลูกไก่ ล้วนแล้วแต่ก็อุดมไปด้วยฟอสฟอรัสทั้งสิ้น เช่น ในถั่ว 1 ถ้วย อาจจะมีปริมาณของฟอสฟอรัสมากกว่า 250 มิลลิกรัม ขึ้นไป ซึ่งเกือบจะถึงครึ่งของปริมาณฟอสฟอรัสที่ผู้ใหญ่ควรได้รับในแต่ละวัน

เครื่องใน

เครื่องในต่างๆ เช่น ไส้ ตับ หรือสมอง เป็นอีกแหล่งสำคัญของฟอสฟอรัส และแร่ธาตุสำคัญอื่นๆ เช่น ในตับไก่ 85 กรัม อาจจะให้ฟอสฟอรัสมากกว่า 53% ของปริมาณฟอสฟอรัสที่ควรได้รับในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตจึงควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานเครื่องใน ไม่ควรกินมากจนเกินไป

อาหารทะเล

อาหารทะเลส่วนใหญ่นั้นจะเป็นแหล่งสำคัญของฟอสฟอรัส ทั้งปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาหมึก หอยนางรม หรือแม้กระทั่งปู ที่อาจจะมีปริมาณของฟอสฟอรัสมากถึง 70% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน แต่จากการรับประทานในหนึ่งมื้อเท่านั้น  อาหารทะเลจึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรระวัง

อาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปส่วนใหญ่ มักจะมีการเติมฟอสฟอรัสเข้ามาในรูปแบบของสารปรุงแต่ง หรือสารกันบูด เพื่อช่วยยืดอายุของอาหาร และคงสภาพของอาหารให้คงตัวได้นานขึ้น ซึ่งฟอสฟอรัสที่อยู่ในอาหารแปรรูปนั้นอาจมีปริมาณตั้งแต่ 300-1,000 มิลลิกรัม เกินกว่าปริมาณของฟอสฟอรัสที่ผู้ใหญ่ควรได้รับในแต่ละวัน ซึ่งก็คือไม่เกิน 700 มิลลิกรัม ต่อวัน

ดูแลไตให้ดี ได้สุขภาพดี

เราช่วยเหลือไตได้ เพื่อให้กระบวนการกำจัดสารพิษทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ด้วย 5 ข้อนี้

1. เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

  • ผักและผลไม้สด
  • ธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแล้ว
  • อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง
  • จำกัดการรับประทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก เนื้อกระป๋อง และมันฝรั่งทอด
  • เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำช่วยสนับสนุนให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น กรองสารพิษออกจากเลือดและขับสารพิษทางปัสสาวะ

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรือบรรดา soft drink ทั้งหลาย

3. ไม่สูบบุหรี่

สารพิษที่อยู่ในบุหรี่จะเข้าไปในกระแสเลือด และส่งผลต่อหัวใจและไต คนสูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะไตวายมากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่

4. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดต้านการอักเสบ

โดยเฉพาะยาแก้ปวดต้านการอักเสบที่ต้องทานหลังอาหารทันทีมักมีพิษต่อไต และการทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเร่งให้การทำงานของไตเสื่อมถอยลง

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • ช่วยทำให้กระบวนการเผาผลาญทำงานดีขึ้น
  • กระตุ้นการกำจัดของเสียที่สะสมในเลือด
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิต

สรุป

อาหารเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของอาหารฟอสฟอรัสสูง ที่ผู้ป่วยโรคไตควรระมัดระวังเมื่อจะต้องเลือกกิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรจะงดไปเลย เพราะอาหารส่วนใหญ่ ทั้งนม เครื่องใน ถั่ว หรืออาหารทะเลนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่ดีต่อร่างกายของเรา สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือไม่ควรกินอาหารเหล่านี้มากเกินไป และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น และป้องกันอันตรายที่อาจจะมาจากการกินอาหารนั่นเอง

แหล่งที่มา

https://www.sanook.com/

https://mydeedees.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%84%e0%b8%95-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87/



วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002