ตรีนุช ลงพื้นที่ ร.ร.เล็ก กำชับเขตฯ ตรวจเยี่ยมสม่ำเสมอช่วยแก้ปัญหาตรงจุด สร้างโรงเรียนคุณภาพ
ตรีนุช ลงพื้นที่ ร.ร.เล็ก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่จังหวัดพัทลุง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พัทลุง เขต 2 ที่โรงเรียนบ้านท่านางพรหม (ธนาคารกรุงเทพ 8) อำเภอเขาชัยสน และ ที่โรงเรียนมิตรมวลชน 1 อำเภอป่าบอน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน ร่วมให้การต้อนรับและนำชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จัดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 2-ประถมศึกษาปีที่ 6
น.ส.ตรีนุชกล่าวว่า โรงเรียนบ้านท่านางพรหม เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 122 คน
แต่ก็สามารถทำเป็นโรงเรียนคุณภาพได้ เพราะมีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงกับชุมชน และท้องถิ่นให้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาทรัพยากรที่ขาดแคลนร่วมกัน และถึงแม้จะมีปัญหาขาดแคลนครู มีครูไม่ครบชั้น แต่ก็ยังจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังสามารถเพิ่มรายวิชาในการจัดการเรียนการสอนได้ โดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูรุ่นใหม่ ใช้เทคนิคการสอนแบบใหม่ๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีความสุขกับการมาโรงเรียน ส่งผลให้คะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ได้คะแนน 100 เต็ม ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีมาก
“ส่วนเรื่องของโภชนาการซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยที่ผ่านมาได้อนุมัติเพิ่มงบอาหารกลางวันแบบขั้นบันได ใช้งบกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท วันนี้ได้มาเห็นว่าโรงเรียนสามารถจัดอาหารให้เด็กได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทำให้เด็กมีสุขภาพดี ขอชื่นชม ผู้บริหารและครูของโรงเรียนที่สามารถใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญคือโรงเรียนนี้มีจุดแข็งตรงที่ มีชุมชนและภาคเอกชน เป็นเครือข่าย ช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ” น.ส.ตรีนุชกล่าว
น.ส.ตรีนุชกล่าวต่อว่า ส่วนโรงเรียนมิตรมวลชน 1 มีนักเรียน 43 คน
และด้วยจำนวนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ทำให้ไม่สามารถมีตำแหน่งผู้บริหารได้ แต่ทางเขตพื้นที่ฯได้จัดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาข้างเคียง ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน จากศักยภาพผู้บริหารและความร่วมมืออันดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ชุมชน ภาคประชาสังคม และมีกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นระบบ ส่งผลให้โรงเรียนแห่งนี้ สร้างการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กในพื้นที่ และยังสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่แก่กลุ่มชาติพันธุ์มานิ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดที่เชื่อมต่อระหว่างตรัง-พัทลุง ให้สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีโลกปัจจุบันได้ด้วย
“ดิฉันได้เน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงพื้นที่สถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้พบปะพูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ได้รับทราบปัญหาต่างๆ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้โรงเรียนอย่างตรงจุด ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชุมชน พื้นที่ จังหวัด และในภาพรวมของประเทศต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศต่อไป
อกจากนี้รัฐบาลยังมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพิ่มค่าอาหารกลางวันให้ด้วย และจากการลงพื้นที่ทั่วประเทศก็ พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้แนวทางโรงเรียนคุณภาพ มีการนำนักเรียนมาเรียนรวม มีการจัดแผนงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
“ เรื่องที่ต้องดำเนินการสานต่อจากนี้ คือ การสร้างโอกาสทางการศึกษา จากโครงการ พาน้องกลับมาเรียน ค้นหา ติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แล้วประสานเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทั้ง สพฐ. ศึกษาธิการจังหวัด อาชีวศึกษา และ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และมีกระบวนการป้องกันการหลุดออกจากระบบ
รวมทั้งต้องลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนบ้านนักเรียน 100% ซึ่งทาง สพฐ.กำหนดให้ เดือนมิถุนายน 2566 เป็นเดือนแห่งการเยี่ยมบ้านนักเรียน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลช่วยเหลือเด็กในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด และเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยนําระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center มาปฏิบัติอย่างเข้มข้น ก็ถือเป็นภารกิจลำดับต้น
สรุป ตรีนุช ลงพื้นที่ ร.ร.เล็ก
ซึ่งในการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กนั้น สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้แนวทางโรงเรียนคุณภาพ คือ มีการนำนักเรียนมาเรียนรวม มีการจัดแผนงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ในการใช้ทรัพยากรใช้ร่วมกัน มีการสร้างความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์การศึกษา รวมถึงสนับสนุนจ้างครูภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ที่จะสร้างเสริมคุณภาพทางวิชาการ มีการสร้างทักษะอาชีพให้นักเรียน ด้วยกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย และขอให้เขตพื้นที่ฯและโรงเรียนพิจารณาจุดแข็งของบริบทในพื้นที่และชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาเป็น Soft Power มาบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งมีหลายโรงเรียนทำได้ดี และขอให้มีการจัดเก็บข้อมูลความสำเร็จในการดำเนินงาน เพื่อนำมาใช้วัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการยกระดับโรงเรียนคุณภาพ เพื่อขยายผลคุณภาพการศึกษาสู่นักเรียนของโรงเรียนเครือข่ายต่อไปด้วย” น.ส.ตรีนุชกล่าว
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/06/11/%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%8a-%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-%e0%b8%a3-%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%81/
|