[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
11 สมุนไพร อันตรายกับผู้ป่วย “โรคไต”  VIEW : 120    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1788
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 34
Exp : 38%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 182.52.252.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 15:19:28    ปักหมุดและแบ่งปัน

11 สมุนไพร อันตรายกับผู้ป่วย “โรคไต”

ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคไตเป็นจำนวนมาก การรักษาจึงมีทางเลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นการรักษากับทางโรงพยาบาลตามปกติ รวมไปถึงแพทย์แผนทางเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยมของผู้ป่วยชาวไทยที่เชื่อว่าการใช้ธรรมชาติบำบัด จะเป็นหนทางที่ทำให้ร่างกายหายจากโรคร้ายได้มากกว่า แต่พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า ยังไม่มีสมุนไพรตัวใด ที่มีการวิจัยในมนุษย์โดยวิธีการวิจัยที่เหมาะสม แล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่าช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น และยังต้องระวังการใช้สมุนไพรที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการใช้สมุนไพรผิดชนิดและมีสิ่งหรือสารปนเปื้อน เช่น สเตียรอยด์ สารหนู แคดเมียม ซึ่งอาจมีผลต่อโรคไตได้

ผศ.พญ.สุภินดา ศิริลักษณ์ แพทย์อายุรกรรมโรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า สมุนไพรที่มีผลต่อการทำงานของไต โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยแล้ว เช่น

  1. เห็ดหลินจือ เป็นสมุนไพรจีนที่ดังมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคไต แต่ที่จริงหากผู้ป่วยที่กำลังฟอกเลือดแล้วรับประทานเห็ดหลินจือเข้าไป จะทำให้ไตเสื่อมไตวายได้
  2. มะม่วงหาวมะนาวโห่ อาจมีผลทำให้ไตขับสารโพแทสเซียมออกมาไม่ทัน ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและอาจเสียชีวิตได้
  3. มะเฟือง มีกรดออกซาเลตหรือกรดออกซาลิก ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน
  4. ตะลิงปลิง และ ป๋วยเล้ง กินเยอะ อาจทำให้ไตวายเฉียบพลัน
  5. แครนเบอรี่ ส่วนใหญ่มักทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รับประทานมากทำให้เกิดนิ่ว และผลการทำงานของไตผิดปกติ
  6. ไคร้เครือ เพราะทำให้ไตวายและเป็นมะเร็งระบบปัสสาวะ
  7. สมุนไพรกลุ่มใบชา ปอกะบิด หรือกาแฟบางชนิดที่นำมาแปรรูปในโฆษณาในเรื่องลดน้ำหนัก จะส่งผลต่อค่าของตับและไตจะสูงขึ้น นอกจากนี้ยังต้องระวังการปนเปื้อนสารอันตรายจากกระบวนการผลิตด้วย ซึ่งจากการสุ่มตรวจพบปนเปื้อนสเตียรอยด์ถึง 30% และยังพบสารหนู แคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะที่มีผลต่อโรคไต11 สมุนไพร อันตรายกับผู้ป่วย “โรคไต”
  8. โสม หากทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
  9. น้ำลูกยอ อันตรายเพราะมีอาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต
  10. ชะเอมเทศ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  11. หญ้าหนวดแมว อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคไตนับเป็นปัญหาของสังคมไทยสูงขึ้น ที่ผ่านมาผู้ป่วยแสวงหาความรู้ในการรักษาโรค แต่ไปเชื่อความรู้ที่ไม่ถูกต้องจำนวนมาก เช่น ผู้ป่วย 1 คน เสียเงินจากความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคเรื้อรังเกือบล้านบาท นอกจากไม่หายแล้ว อาการยังแย่ลงด้วย ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยืนยาว อยากให้ผู้ป่วยมีความใกล้ชิดกับแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อย่าเชื่อสื่อต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง

ขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com

ขอบคุณแหล่งที่มา : sanook.com


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002