[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ผู้ติดเชื้อ HIV น่ากลัวอย่างคิดจริงหรือ  VIEW : 150    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 795
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 22
Exp : 88%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.94.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 22:11:45    ปักหมุดและแบ่งปัน

ยังมีคนไทยจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการติด เชื้อเอชไอวี ( HIV )
หลายคนยังคิดว่าการติดเชื้อ HIV ก็เท่ากับว่าคนๆ นั้นได้ติดโรคเอดส์ไปเรียบร้อยแล้ว หลายคนกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ จนทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมกับ เชื้อเอชไอวี ถูกสังคมรังเกียจ ทว่าในความเป็นจริง หากลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี ให้มากขึ้นจะรู้ว่าจริงๆ แล้วเรื่องต่างๆ หรือข้อมูลที่เคยรู้มาอาจไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องทั้งหมด และไม่ว่าใครก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่มี HIV ในร่างกายได้

HIV กับ AIDS ไม่ใช่โรคเดียวกันทั้งหมด
เชื้อเอชไอวี ( HIV ) มาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสประเภทหนึ่งที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ แต่สำหรับโรคเอดส์ (AIDS) มาจากคำว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome อันหมายถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการโดนเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้ระบบภายในร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้เมื่อมีเชื้อโรคต่างๆ พยายามเข้ามาสู่ร่างกาย ร่างกายของผู้ป่วย เมื่อมีภูมิต้านทานน้อยก็ไม่สามารถต่อสู้หรือกำจัดอาการป่วยใดๆ ได้เลย จนท้ายที่สุดผู้ที่ไม่ได้ทำการรักษาก็จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากไวรัสเอชไอวีจากความหมายข้างต้นของทั้ง 2 สิ่งที่กล่าวมานี้จึงบอกได้ว่า โรคเอดส์ มีสาเหตุจากเชื้อเอชไอวีที่เข้ามาสู่ร่างกายบุคคลๆ นั้น แต่ในทางกลับกันผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีภายในร่างกายก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการดูแลร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร
พื้นฐานความเข้าใจหลัก ๆ สำหรับการติดเชื้อเอชไอวีก็คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลาย ๆ คนโดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, ติดจากแม่สู่ลูกตอนมีครรภ์ เป็นต้นทว่าหากอธิบายอย่างเป็นทางการ เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อระหว่างบุคคลได้หากมีสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อในร่างกายเข้าไปสู่ร่างกายของคนปกติ เช่น เลือด, อสุจิ, ของเหลวจากช่องคลอด แม้กระทั่งนมแม่ก็สามารถติดต่อเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีต้นเหตุมาจากการกระทำที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นนั่นเอง แต่นอกเหนือจาก 3 ข้อนี้แล้วก็ยังมีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้เข็มสัก, เข็มเจาะร่วมกัน, การได้รับเลือด เป็นต้น

ระยะของอาการเมื่อได้รับเชื้อเอชไอวี
ความจริงหลังจากการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยนอกจากการตรวจเลือดเท่านั้น แต่ภายในร่างกายของเราหากได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี มันจะเริ่มแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนออกมาในเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายเรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) และแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ระยะแรกที่ได้รับเชื้อเอชไอวีมานี้ อาจเกิดเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ อาจมีอาการไม่ค่อยสบายเหมือนอาการเป็นไข้หวัด มีผื่น เบื่ออาหาร มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เจ็บคอ เหงื่อออกในเวลากลางคืน เป็นแผลในปาก ในหลอดอาหาร หรืออวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับบางคน แต่อาจจะไม่เกิดกับทุกคน

หลังจากช่วงเวลานี้ อาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาให้เห็นเลย แต่เชื้อไวรัสเอชไอวีก็ยังคงทำหน้าที่ของมันไปเรื่อยๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่ายมาก

มีเพียงการตรวจเท่านั้นที่จะทราบว่าผู้นั้นติดเชื้อหรือไม่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบโดยเร็วว่าบุคคลผู้นั้นติดเชื้อหรือไม่เนื่องจากการรักษาสามารถป้องกันระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ให้อ่อนแอและถูกทำลายลงได้ สรุปดังนี้

เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อเอชไอวีในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก จะถูกเรียกว่า ระยะฉับพลัน มักรู้สึกเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ผื่นขึ้นตามลำตัว ปวดเมื่อย

ระยะต่อมาเป็นช่วงที่หากรู้และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะช่วยให้มีอายุยืนยาว เรียกกันว่า ช่วงระยะสงบ ตอนนี้จะไม่มีการแสดงออกใด ๆ ทั้งสิ้น หากไม่มีการตรวจร่างกายเลยก็จะอยู่ในระยะนี้เป็น 10 ปี ซึ่งยังไม่ถูกเรียกว่า ผู้ป่วยเอดส์

ระยะสุดท้าย นี่คือช่วงการติดเชื้อที่ถูกเรียกเป็น โรคเอดส์ อย่างชัดเจนเนื่องจากเชื้อมีการพัฒนาแบบเต็มขั้นสู่การเป็นเอดส์เรียบร้อย ภูมิคุ้มกันมีการบกพร่อง ไม่ต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย จนในที่สุดมักเสียชีวิตจากโรคเหล่านั้นมากกว่าเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์

การกระทำที่ไม่เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี
ยังมีคนที่เข้าใจผิดอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีเมื่อรู้ว่าคนรอบข้างหรือต้องอยู่ใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อจะมีความเป็นกังวลมาก จึงอยากอธิบายให้เข้าใจว่าการติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่ติดกันง่าย ๆ หากไม่ได้มีการกระทำที่เสี่ยง โดยหากคุณต้องทำสิ่งเหล่านี้ยืนยันว่าไม่มีทางติดได้แน่นอน

ต้องใช้ภาชนะต่าง ๆ ร่วมกับผู้ติเชื้อไม่ว่าจะเป็นจาน, ช้อน, ส้อม, แก้ว, ขันน้ำ ฯลฯ เนื่องจากเชื้อเอชไอวีไม่สามารถติดต่อผ่านภายนอกหรือของเหลวในร่างกายจำพวกน้ำลาย, น้ำตา ได้
หากมีผู้ติดเชื้อ ไอ, จาม, จูบ, หอม, ถ่มน้ำลาย ก็ไม่เสี่ยงเช่นกัน
การนอนหลับบนเตียงเดียวกันกับผู้ป่วย
การโดนยุงกัด
อาการเบื้องต้นของผู้ที่เริ่มติดเชื้อเอชไอวี
สำหรับคนที่ใช้ชีวิตเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่กล้าไปตรวจเอชไอวีหากเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงได้
ถ่ายท้องแบบท้องเสียมาเป็นเวลานานมากกว่า 1 สัปดาห์
มักมีไข้อยู่เป็นประจำทั้งที่สภาพแวดล้อมปกติ
มีอาการปอดอักเสบ
รู้สึกว่าตนเองมีความจำลดลง เสียความทรงจำในบางเรื่อง เริ่มรู้สึกมีอาการซึมเศร้า หรืออาการอื่น ๆ ในระบบประสาท
เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ, ทวารหนัก, ริมฝีปากแบบไม่มีสาเหตุ
บริเวณผิวหนัง เปลือกตา จมูก ปาก มีผื่นขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ
ต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณขาหนีบ คอ รักแร้
น้ำหนักลงเฉียบพลันทั้ง ๆ ที่ทานอาหารปกติ
เหนื่อยง่ายกว่าปกติที่เคยเป็นมา
มักมีเหงื่อออกในตอนกลางคืนแม้จะเปิดแอร์หรือพัดลมก็ตาม
อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยและใช้ชีวิตปกติได้เป็น 10 ปี จะรู้ว่าตนเองติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีการตรวจเลือดเท่านั้น

การป่วยเพราะติดเชื้อเอชไอวีไมได้น่ากลัวและอันตรายอย่างที่คิด หากรู้สึกว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงแนะนำให้พบแพทย์ตรวจเลือด ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง ๆ ก็อย่าเครียด กังวลใจ เพราะโรคนี้สามารถดูแลตนเองและใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ เผลอ ๆ อาจมีชีวิตได้ยาวนานกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ

การป้องกันเอชไอวี ทำง่ายและได้ผล
ป้องกันเอชไอวี เป็นวิธีง่ายและเราสามารถหยุดและยับยั่งเราจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวีได้ เอชไอวีสามารถติดต่อได้ 3 ทางคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี การรับเชื้อทางเลือด และการติดต่อผ่านแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นการรับเชื้อผ่านเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด เสมหะ  น้ำเหลือง รวมถึงน้ำนมแม่ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดย

วิธีป้องกันเอชไอวี
สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรส หรือ คนที่ไม่รู้จัก
ไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับคนอื่น
ตรวจเลือดก่อนการแต่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของทั้งคู่ไม่มีการติดเชื้อ
รับการตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หากมีแผลเปิดควรระมัดระวัง ไม่ให้แผลสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
การใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวี (Pre-Exposure Prophylaxis : PrEP) ก่อนการสัมผัสโรค
การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (Post-Exposure Prophylaxis : PEP) หลังการสัมผัสโรค
ประโยชน์ของการป้องกันเอชไอวี
จากสถิติประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ทราบว่าตนติดเชื้อเอชไอวีและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 460,000 คนเท่านั้น และคาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวี อีกประมาณ 29,000 คนที่ยังไม่ทราบว่าตนติดเชื้อดังนั้นผู้ที่ยังไม่มีเชื้อจะสามารถลดอัตราการขยายตัวนี้ได้โดยการป้องกันเอชไอวีอย่างถูกวิธีเพื่อให้สุขภาพร่างกายปกติไม่มีไวรัสเอชไอวีที่คอยทำลายภูมิคุ้มกันร่างกายไม่เสี่ยงติดเชื้อฉวยโอกาสไม่เกิดการแพร่เชื้อและการติดต่อไม่ต้องรับประทานยาต้านไวรัสตลอดชีวิตและลดโอกาสการติดเชื้อชนิดอื่นๆที่เกิดจากเพศสัมพันธ์และอย่าลืมในการตรวจเอชไอวี

ใครบ้างที่ควรป้องกันเอชไอวี
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีลักษณะการติดต่อ แพร่เชื้อ และมีพฤติกรรมเสี่ยงดังต่อไปนี้
กลุ่มชายรักชาย (Homosexual)
กลุ่มชายรักสองเพศ (Bisexual)
สามี ภรรยา หรือคู่นอน ที่ไม่ทราบว่าคู่นอนมีเชื้อเอชไอวี
พฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
ตนหรือคู่นอน เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
หญิงและชายที่ขายบริการทางเพศ
หญิงตั้งครรภ์ที่ทำการฝากครรภ์
ทารกในครรภ์ และ บุตร ที่มารดาติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ที่มีบาดแผล ที่เสี่ยงสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้อื่น
บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรควัณโรค
การป้องกันการติดเชื้อ HIV มีทั้งหมดกี่วิธี?
วิธีการที่จะช่วยป้องกันการไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ดีที่สุด มีทั้งหมด 5 วิธีดังนี้

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากเพศสัมพันธ์ : โดยจะต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เลือกใช้ถุงยางอนามัยได้มาตรฐานเพื่อลดความเสี่ยงของการฉีกขาด
การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น : ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับคนท้อง : หญิงตั้งครรภ์ควรตรวจเลือดก่อนการฝากท้อง หรือ ระหว่างที่ฝากท้อง เพื่อสามารถรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
การป้องกันการติดเชื้อโดยการทานยา เพร็พ (PrEP) ก่อนการสัมผัสโรค : เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี แต่มีภาวะเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่าเป็นยาที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้มากถึง 90%
การป้องกันการติดเชื้อโดยการทานยา เป๊ป (PEP) หลังการสัมผัสโรค : เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อเอชไอวีไว้ได้ ก่อนที่เชื้อจะแพร่กระจายสู่ร่างกาย โดยยาชนิดนี้จะต้องทานหลังจากได้รับเชื้อเอชไอวี ภายใน 72 ชั่วโมง
อ้างอิง

https://lovefoundation.or.th/

https://mydeedees.com/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad-hiv-%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88/





วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002