[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ข้อสังเกต แค่ควบคุมน้ำหนัก หรือเป็น โรคคลั่งผอม  VIEW : 139    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 795
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 22
Exp : 88%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.94.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 21:21:04    ปักหมุดและแบ่งปัน

โรคคลั่งผอม หรือ Anorexia (อะนอเร็กเซีย)
โรคคลั่งผอม คือโรคการกินผิดปกติ ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจิต โดยผู้ป่วยจะมีน้ำหนักที่น้อยและมีรูปร่างที่ผอมมากนั่นเอง ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก อย่าง ล้วงคออาเจียนหลังทานอาหาร ใช้ยาลดน้ำหนัก ยาขับปัสสาวะ หรือการอดอาหารนั่นเอง ซึ่งแก้ได้ยาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าตัวเอง ป่วยและไม่อยากแก้

อาการที่อาจเป็นได้ของ โรคคลั่งผอม
น้ำหนักลดลงมากเกินไป
รูปร่างผอมแห้ง ไม่มีกล้ามเนื้อ / ไขมัน
จำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ
เกิดอาการเมื่อยล้า
เวียนหัว
นอนไม่หลับ
นิ้วเขียวซีด ปากแห้ง
ผิวแห้ง เหลือง
ผมบาง / ร่วง
ประจำเดือนไม่มา
ท้องผูก
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความดันโลหิตต่ำ
กระดูกเปราะ
แขนหรือขาบวม
อาการทางด้านพฤติกรรม :
อดอาหาร หรือ กินน้อย
ออกกำลังหายอย่างหักโหม
ล้วงคอ
ใช้ยาระบาย ยาลดน้ำหนัก
อาการทางด้านจิตใจ :
คิดมากเกี่ยวกับการกิน นับแคลอรี่
เกิดอาการเบื่ออาหาร
กังวลเรื่องน้ำหนักตัว
หมกหมุ่นเกี่ยวกับรูปร่างตัวเอง และไม่ยอมรับว่าตัวเองน้ำหนักต่ำกว่าปกติ จึงลดอย่างต่อเนื่อง
แยกตัวจากสังคม
หงุดหงิด หรือซึมเศร้า
คิดฆ่าตัวตาย
Anorexia เกิดจากอะไร?
ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้  แต่โรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นร่วมกัน ได้แก่

 ยีนหรือพันธุกรรม
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับยีน การทำงานในสมอง หรือระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน โรคซึมเศร้า หรือใช้สารเสพติด มีความเสี่ยง

 สภาวะจิตใจ
สภาวะอารมณ์หรือจิตใจบางอย่างอาจส่งผลให้ป่วยเป็น อะนอร์เร็กเซีย ได้ โดยผู้ที่ประสบสภาวะอารมณ์หรือจิตใจต่อไปนี้อาจเสี่ยงป่วยเป็น โรคคลั่งผอม

มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

จัดการความเครียดได้ไม่ดี

กังวล กลัว และคิดมากเกี่ยวกับอนาคตมากเกินไป

เสพติดความสมบูรณ์แบบ

เคร่งครัด

มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ

 สภาพแวดล้อม
การรับเอาวัฒนธรรมและค่านิยมความผอมที่เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ อาจเกิดปัจจัยจากสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น

แรงกดดันจากเพื่อนที่นิยมรูปร่างผอม

ถูกกลั่นแกล้งล้อเลียนเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก

เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด

เผชิญกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว

ถูกทำร้ายร่างกายหรือทารุณกรรมทางเพศ

วิธีการรักษา

จิตบำบัด ผู้ป่วยโรค Anorexia จะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดต่าง ๆ เวลาประมาณ 6-12 เดือน

 Focal Psychodynamic Therapy : FPT เป็นวิธีจิตบำบัด ที่เน้นให้ผู้ป่วยรับมือกับภาวะทางจิต ความคิด หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น อาจเกี่ยวเนื่องกับปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวัยเด็กหรือในอดีต นักบำบัดจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยนึกถึงปมขัดแย้งที่ส่งผลต่อตัวเอง เพื่อช่วยหาวิธีรับมือกับพฤติกรรม หรือความคิดเหล่านั้นนั่นเอง

 จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Therapy: IPT) วิธีนี้เชื่อว่า ความสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต นักจิตบำบัดจึงจะพิจารณาความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างของผู้ป่วยและหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมหรือความคิดดังกล่าวได้อย่างไร

 ความคิดเและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) วิธีนี้จะโฟกัสไปที่ทัศนคติที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยนักบำบัดจะช่วยปรับความคิดของผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่นเอง

 Cognitive Analytic Therapy (CAT)วิธีนี้จะโฟกัสไปที่ ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นเกิดจากรูปแบบพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

 การบำบัดครอบครัว (Family Interventions) ในกรณีที่ผู้ป่วย Anorexia ยังมีอายุน้อย การบำบัดครอบครัวนั้นสำคัญมาก โดยจะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบโรคที่ส่งผลต่อครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะของโรคและวิธีที่บุคคลในครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย

 วิธีเพิ่มน้ำหนัก แผนการรักษาโรคนี้จะครอบคลุมคำแนะนำในการรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างปลอดภัย โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารในปริมาณน้อย และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารอย่างช้า ๆ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว

 ยารักษา โรค Anorexia ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาเพียงอย่างเดียว แพทย์มักใช้รักษาควบคู่กับวิธีบำบัด โดยใช้ยาเพื่อรักษาภาวะทางจิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคซึมเศร้า ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย Anorexia ได้แก่ ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ และยาโอแลนซาปีน

โรคล้วงคอ หรือ บูลิเมีย (Bulimia)

ผู้ป่วยจะรับประทานอาหารปริมาณมากตามด้วยการกำจัดอาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไปเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โรค Bulimia เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง

อาการที่อาจเป็นได้ของโรค Bulimia

รับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ

จำกัดปริมาณอาหาร

ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน

ออกกำลังกายอย่างหักโหม

ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ

ใช้อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดน้ำหนัก

กังวลว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น

หมกมุ่นอยู่กับน้ำหนักและรูปร่าง

มีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตัวเอง

ควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ได้

สภาวะอารมณ์เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น รู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล

ประจำเดือนมาผิดปกติ

สาเหตุของ Bulimia

ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Bulimia แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยต่าง

อายุ : มักพบมากในช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น

เพศ: เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรค Bulimia มากกว่าเพศชาย

พันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัว (โดยเฉพาะญาติสายตรงลำดับที่ 1) ป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เป็นโรคซึมเศร้า ติดสุรา หรือติดยาเสพติด

สภาวะทางร่างกาย ภาวะขาดสารสื่อประสาทเซโรโทนินในสมอง หรือการมีน้ำหนักตัวมากในวัยเด็กและวัยรุ่นก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้

สภาวะทางจิตใจ สภาวะอารมณ์และปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง เสี่ยงป่วยเป็นโรค Bulimia ได้ เช่น ความเครียด โรควิตกกังวล

การเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดหรือส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น การถูกคุกคามทางเพศ

ค่านิยมตามสื่อต่าง ๆ สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต

อาชีพ นักกีฬา นักแสดง นักเต้น หรือนางแบบ เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากผู้ฝึกสอนหรือผู้ปกครองอาจคอยกระตุ้นให้ลดน้ำหนัก

ระดับความรุนแรงของโรค Bulimia

ระดับไม่รุนแรง: 1-3 ครั้ง/สัปดาห์
ระดับปานกลาง: 4-7 ครั้ง/สัปดาห์
ระดับรุนแรง: 8-13 ครั้ง/สัปดาห์
ระดับรุนแรงมาก: มากกว่า 13 ครั้ง/สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรค Bulimia
คนที่ประสบกับปัญหา Eating Disorder โรคบูลิเมียมัก ได้รับผลกระทบที่ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยถึงขั้นตรายต่อชีวิต ซึ่งผลแทรกซ้อนหรืออันตรายจากโรคบูลิเมียมีผลจากการได้รับสารอารที่ไม่ครบถ้วน จากการล้วงคอ รวมไปถึงการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาลดความอ้วนเป็นประจำอีกด้วยค่ะ

ผิวพรรณแห้งเหี่ยวย่น
รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
ผมร่วง เล็บไม่แข็งแรง หักง่าย
ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่มา
ปากแห้ง ต่อมน้ำลายอักเสบทำให้ใบหน้าดูบวม
มีแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากกรดจากกระเพาะอาหารที่เกิดจากการล้วงคออาเจียน
เยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจฉีกขาด รวมไปถึงอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร เนื่องจากการอาเจียนบ่อย ๆ
มีกลิ่นปาก ฟันผุ และปัญหาสุขภาพเหงือกและช่องปากอื่น ๆ เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการล้วงคออาเจียน
ท้องผูก กล้ามเนื้อลำไส้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการใช้ยาระบายเป็นประจำ
การรักษาบูลิเมีย
ในการรักษาโรค Bulimia นั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี ซึ่งการรักษาด้วยการฟื้นฟูสภาพจิตร่วมกับการใช้ยาต้านเศร้า

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)  วิธีนี้จะโฟกัสไปที่ทัศนคติที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยนักบำบัดจะช่วยปรับความคิดของผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่นเอง

การบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Therapy)  วิธีนี้เชื่อว่า ความสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต นักจิตบำบัดจึงจะพิจารณาความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างของผู้ป่วยและหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมหรือความคิดดังกล่าวได้อย่างไร

การบำบัดแบบครอบครัว (Family-Based Therapy) ในกรณีที่ผู้ป่วย Anorexia ยังมีอายุน้อย การบำบัดครอบครัวนั้นสำคัญมาก โดยจะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบโรคที่ส่งผลต่อครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะของโรคและวิธีที่บุคคลในครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย

การใช้ยารักษา การใช้ยาต้านเศร้าควบคู่กับการพูดคุยบำบัดทางจิตอาจช่วยลดอาการของโรค Bulimia ได้ : ยาฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors)

โภชนศึกษา แพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีน้ำหนักตัวเป็นปกติ

หากมีอาการที่แปลกไปกว่าปกติ สามารถการเช็กอาการป่วยเบื้องต้นด้วย Agnos จะเป็นตัวเลือกสำคัญที่ทำให้คุณรู้แนวทาง และวางแผนเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น

อ้างอิง

https://www.pobpad.com/

https://mydeedees.com/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95-%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%ab/





วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002