มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ
ถ้าจะพูดถึงผลไม้ในบ้านเราที่ให้สรรพคุณทางยาก็มีอยู่หลากหลายชนิด แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อเรียกนั้นสะดุดหูซะเหลือเกินว่า “มะม่วงหาว มะนาวโห่” หลายคนที่เคยได้ยินชื่อนี้ก็ยังสงสัย สรุปแล้วมันเป็นมะม่วง หรือเป็นมะนาว แล้วทำไมต้องทั้งหาวและร้องโห่ แต่ในความเป็นจริงแล้วผลไม้ชนิดนี้ไม่ได้เป็นทั้งมะม่วงและมะนาวอย่างที่จินตนาการกัน ซึ่งที่มาของชื่อนั้นก็ถูกตั้งโดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร โดยบอกเพิ่มอีกว่าที่ตั้งชื่อนี้ก็เพื่อให้คล้องกับชื่อผลไม้ในวรรณคดี เรื่อง นางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ความตอนหนึ่งของเรื่องได้พูดถึงผลไม้สดที่มีรสชาติเปรี้ยวจัด ขนาดว่าทำให้คนที่ง่วงนอนอยู่รู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาในทันควัน
มะม่วงหาว มะนาวโห่ นับว่าเป็นผลไม้ยอดนิยมที่ถูกจับตามองในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่” ซึ่งถ้าเรียกสั้นๆ ก็น่าจะเข้าปากมากกว่า ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในวงการแพทย์ก็ได้วิจัยออกมาพบว่ามีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ ครั้นจะนำไปใช้รักษาโรค หรือรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันก็จะได้ผลที่ดียิ่งขึ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของ “มะม่วงหาว มะนาวโห่”
ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการ ป้องกันมะเร็ง เพราะภายในผลไม้ชนิดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยบำรุงโลหิต ชะลอการแก่ก่อนวัย ป้องกันโรคหัวใจ ขยายหลอดเลือด รักษาปอด รวมไปถึงอาการถุงลมโป่งพองก็ช่วยบรรเทาให้ดีขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผลไม้ที่มีชื่อแปลกหูถึงได้รับความนิยม ขนาดว่าต้องควานหาซื้อมารับประทาน ตลอดจนหามาปลูกไว้เป็นไม้ประดับภายในบริเวณบ้านอีกด้วย
จากผู้ที่นิยมสมุนไพรให้ความรู้กับเราเพิ่มเติมมาว่า “มะม่วงหาว มะนาวโห่” นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วนของลำต้น อีกทั้ง ก็ยังมีส่วนน้อยที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว มะม่วงหาว มะนาวโห่ นั้นเป็นคนละต้น หรือเป็นพืชคนละชนิด คนละสายพันธุ์กัน โดย ‘มะม่วงหาว’ ก็คือ มะม่วงหิมพานต์ ส่วน ‘มะนาวโห่’ ก็คือ หนามแดง ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้ก็มีสรรพคุณเพียบและช่วยบำรุงร่างกายได้ดีไม่แพ้กันเลยทีเดียว เพื่อให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น เราก็มีข้อมูลจาก องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์ มาอธิบายขยายความแตกต่างของพืชทั้ง 2 ชนิดนี้…
มะม่วงหาว
“มะม่วงหาว” หรือชื่อเรียกจริงๆ คือ “มะม่วงหิมพานต์” เป็นไม้ต้นขนาดกลางที่สามารถสูงได้ถึง 10 เมตร มีใบเป็นสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อหลวมๆ สีแดงอมม่วง หรือสีครีม มีกลิ่นหอมออกเอียนๆ โดยที่แต่ละดอกจะมี 5 กลีบ เมื่อดอกแก่ ฐานรองดอกก็จะขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะคล้ายกับชมพู่ยาวประมาณ 6 – 7 เมตร มีสีเหลืองอมชมพู หากว่าแก่จัดก็จะมีกลิ่นหอม มีเมล็ด 1 เมล็ดติดอยู่ที่ส่วนปลายเป็นสีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม เรียกว่า ‘เม็ดมะม่วงหิมพานต์’
สรรพคุณทางยา ของ มะม่วงหาว
- ผล : ช่วยฆ่าเชื้อ แก้โรคลักปิดลักเปิด พอกดับพิษ อีกทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ
- เมล็ด : ช่วยแก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้ตาปลา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เนื้องอก บำรุงกระดูก บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงผิวหนัง ไปจนกระทั่งถึงช่วยในการบำรุงกำลัง
- เปลือก : ช่วยในเรื่องการขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้กามโรค แก้อาการท้องเสีย แก้ปวดฟัน ฟอกดับพิษ อีกทั้งยังสามารถนำเมล็ดไปทำเป็นยาอมเพื่อรักษาแผลในปากได้อีกด้วย
- ยอดอ่อน : ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร
- ยาง : ใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยทำลายตาปลา โดยให้ยางเข้าไปเป็นตัวช่วยกัดทำลายเนื้อด้านในที่เป็นปุ่มโต รักษาแผลเนื้องอก รักษาหูด รักษากลาก โรคเท้าช้าง
- น้ำมัน : ใช้ฆ่าเชื้อ เป็นยาชา ใช้รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลที่เน่าเปื่อย
50 สรรพคุณทางยา ของ มะม่วงหาว
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในเรื่องชะลอวัยและลดริ้วรอย (ผล)
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
- แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
- มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน (ผล)
- ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง (ผล)
- มีส่วนในการรักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากมีธาตุเหล็ก (ผล)
- มีส่วนช่วยในการรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
- ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองที่เกิดจากการสูบบุหรี่ (ผล)
- ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
- บรรเทาอาการโรคตับ อาทิ โรคตับแข็ง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการโรคไทรอยด์ (ผล)
- ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
- ในประเทศบังคลาเทศนิยมใช้ใบในการรักษาโรคลมชัก (ใบ)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ชาตามมือตามเท้า (ผล)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงธาตุ (ราก , แก่น , เนื้อไม้)
- ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น , เนื้อไม้)
- รักษาไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก , ใบ)
- ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)
- มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน (ผล)
- บรรเทาอาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
- แก้อาการปวดหู (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน ทั้งยังช่วยสมานแผลที่เกิดในช่องปาก (ผล)
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
- แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
- ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
- ช่วยขับพยาธิ (ราก)
- ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
- ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
- ช่วยในการสมานแผล (ผล , ยาง)
- ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
- ในประเทศอินเดียนิยมใช้รากเพื่อรักษาแผลที่เกิดจากเบาหวาน (ราก)
- แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด , น้ำยาง)
- แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
- ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
- ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
- ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อด้านในที่เป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
- ใช้พอกดับผิษ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อตามข้อ (ผล)
มะนาวโห่
“มะนาวโห่” หรือชื่อเรียกจริงๆ คือ “หนามแดง” เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรืออาจเรียกว่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กก็ได้ มีความสูงเพียง 5 เมตร มียางสีขาว ออกใบเดี่ยว ออกดอกเป็นช่อยาว มีกลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู ออกผลเป็นรูปไข่สีแดงชมพู หรือดำ
สรรพคุณทางยา ของ มะนาวโห่
- ผล : ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
- ใบ : ช่วยแก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ท้องเสีย อาการปวดแก้วหู หรือแม้แต่แก้ไข้ก็ทำได้
- แก่น : ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง
- เนื้อไม้ : ช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ทั้งยังช่วยบำรุงไขมันในร่างกายได้อีกด้วย
- ราก : ใช้แก้อาการคัน บำรุงธาตุ ช่วยขับพยาธิ ทำให้เจริญอาหาร ดับพิษร้อน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้แก้ไข้ได้อีกด้วย
หากมองย้อนกลับไป การที่ “มะม่วงหาว มะนาวโห่” กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยเฉพาะบรรดาคนที่รักสุขภาพ น่าจะหมายถึงผลของ “มะนาวโห่” หรือผลของ “หนามแดง” เสียมากกว่า เพราะมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในทุกพื้นที่ จากการสอบถามพบว่ามะนาวโห่เป็นพืชที่ดูแลง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน อีกทั้งในแต่ละระยะของการออกผลก็จะให้สีที่แตกต่างกัน บางบ้านก็ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับด้วย ส่วนการนำผลมารับประทานก็จะต้องเป็นผลที่มีสีดำ จะให้รสชาติอมเปรี้ยว อมหวาน กินแล้วสดชื่น กระชุ่มกระชวย แถมยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วย
ภาพประกอบจาก istockphoto
ขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com
ขอบคุณแหล่งที่มา : sanook.com
ติดตามข่าวสาร ได้ที่ : thaigoodherbal.com