นอกจากมะเร็งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ อย่างมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ และมะเร็งปอด เชื่อว่าหลายคนน่าจะไม่ค่อยคุ้นหูกับ “มะเร็งช่องปาก” และอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเป็นโรคนี้ได้ยังไง อะไรคือสาเหตุ และอาการเป็นอย่างไร จึงนำข้อมูลมาฝากกันค่ะ
มะเร็งช่องปาก ติด 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคน
มะเร็งช่องปาก เป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มีทั้งชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือ SCC และชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ชนิดหลังพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด SCC
มะเร็งช่องปาก พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
มะเร็งช่องปาก มีสาเหตุจากอะไร?
เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่จะมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคมะเร็งช่องปากมากขึ้น
-
ดื่มแอลกอฮอลล์
-
สูบบุหรี่
-
เคี้ยวหมากพลู เพราะมีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
-
มีแผลที่เกิดจากการระคายเคืองเยื่อเมือกบุช่องปาก ฟันแหลมคม/บิ่น ขูดจนผนังปากเป็นแผล และไม่รับการรักษาจนเป็นแผลมีหนอง แผลเรื้อรัง ซึ่งสุดท้ายอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
-
ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยติดต่อมาที่ปากผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก
-
มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งบริเวณศีรษะ และลำคอมาก่อน
อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งช่องปาก
-
พบฝ้าสีขาว หรือสีแดง ในเยื่อบุช่องปาก กระพุ้งแก้ม หรือลิ้น
-
มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หายนาน 2-3 สัปดาห์
-
มีตุ่ม หรือก้อนในช่องปาก และขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่มักไม่มีอาการเจ็บใดๆ
-
ฟันโยก ฟันหลุด หรือสวมใส่ฟันปลอมไม่ได้ เป็นเพราะมีก้อนเนื้องอกขึ้นมาบริเวณเหงือก
-
เคี้ยว และกลืนอาหารได้ไม่สะดวก มีความยากลำบากในการเคี้ยว และกลืน
-
พบแผลที่รักษาไม่หาย และมีเลือดไหลออกมาจากแผลอย่างผิดปกติ
-
พบก้อนที่ลำคอ ซึ่งอาจจะเป็นต่อมน้ำเหลืองโตจากมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
แผลในปากอาจไม่ใช่ร้อนใน แต่เป็น “มะเร็งช่องปาก”
วิธีจำแนกว่าเป็นแผลร้อนใน หรือแผลมะเร็งช่องปาก ง่ายๆ คือ แผลร้อนในสามารถหายได้เอง หรือมีอาการดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือไม่เกิน 1 อาทิตย์ แผลจะค่อยๆ เจ็บแสบน้อยลง และแห้ง เนื้อประสานกันได้ในที่สุด ยิ่งใช้ยาช่วยจะยิ่งหายเร็วขึ้น
แต่แผลจากมะเร็งช่องปาก จะเป็นแผลที่สดตลอดเวลา ไม่มีทีท่าว่าจะหาย และอาจมีเลือดออกมาในบางครั้ง ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ก็ยังไม่ดีขึ้น
หากพบแผลดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
https://mydeedees.com/%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a1-%e0%b8%ab%e0%b8%a3/
|