โรคหอบหืด มีสาเหตุมาจากสารระคายเคืองต่างๆ เข้าไปยังช่องทางเดินหายใจส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ มีการผลิตน้ำมูกเพิ่มในปริมาณมากจนอุดตัน หายใจลำบาก เพื่อช่วยบรรเทาอาการของหอบหืดลง ควรหมั่นดูแลตนเอง และเลือกรับประทานสารอาหาร ที่เหมาะสม
สารอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด
จากหลักฐานการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหาร หรือวิตามิน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยให้บรรเทาอาการของโรคหอบหืดลง และปกป้องเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ที่สำคัญการที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีเพียงพอต่อวัน อาจทำให้ร่างกายสามารถสู้กับเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจก่อนจะเกิดอาการของหอบหืดในระดับรุนแรงขึ้น
สารอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีดังนี้
-
โคลีน (Choline)
โคลีน เป็นสารอาหารที่คล้ายกับวิตามินบี โดยจะพบได้ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผัก และไข่ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ลดอาการบวมอักเสบ นอกจากในรูปแบบของอาหาร โคลีนยังเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำเป็นยาพ่นผ่านช่องปาก ขยายหลอดลม และบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยโรคหอบหืดเป็นได้ อย่างไรก็ตามโคลีนยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรปรึกษาหมอก่อนรับประทาน
-
แมกนีเซียม (Magnesium)
แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่สำคัญมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกในร่างกายให้แข็งแรง แต่นอกจากจะช่วยบำรุงกระดูก แมกนีเซียมยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมผ่อนคลาย ขยายทางเดินหายใจให้อากาศไหลเข้า และไหลออกจากปอดได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเฉียบพลันได้ และอาจปลอดภัยสำหรับผู้ที่รับประทานในปริมาณน้อยกว่า 350 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงอย่างไรควรคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจตามมาร่วม เช่น อาการท้องร่วง คลื่นไส้ หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หายใจลำบาก
-
พิกโนจีนอล(Pycnogenol)
พิกโนจีนอล เป็นสารประกอบของสารเคมีธรรมชาติที่มาจากเปลือกต้นสน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายได้รับความเสียหาย ช่วยลดอาการของ หอบหืด และโรคภูมิแพ้ได้ จากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาในการศึกษาเด็กที่เป็นโรคหอบหืด แสดงให้เห็นว่าการรับประทานพิกโนจีนอลอย่างน้อย 5 สัปดาห์แรก ก่อนเข้าช่วงโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล อาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดปริมาณการับประทานยารักษาโรคหอบหืดบางชนิดลง แต่ขณะเดียวกันพิกโนจีนอลอาจไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้แก่ โรคลูปัส โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์
-
กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids)
จากการศึกษาในเด็กโดยนักวิจัยของสถาบัน Johns Hopkins Medicine เพิ่มหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ในอาหารอาจส่งผลบรรเทาอาการของ หอบหืด จากมลพิษทางอากาศได้ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ทูน่า วอลนัท น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น ในขณะเดียวกันโอเมก้า 6 อาจให้ผลตรงกันข้าม ทำให้เด็กมีโอกาสมีอาการของโรคหอบหืดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาหารที่มีโอเมก้า 6 ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพดโรคหอบหืด มีสาเหตุมาจากสารระคายเคืองต่างๆ เข้าไปยังช่องทางเดินหายใจส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ มีการผลิตน้ำมูกเพิ่มในปริมาณมากจนอุดตัน หายใจลำบาก เพื่อช่วยบรรเทาอาการของหอบหืดลง ควรหมั่นดูแลตนเอง และเลือกรับประทานสารอาหาร ที่เหมาะสม
สารอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด
จากหลักฐานการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหาร หรือวิตามิน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยให้บรรเทาอาการของโรคหอบหืดลง และปกป้องเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ที่สำคัญการที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีเพียงพอต่อวัน อาจทำให้ร่างกายสามารถสู้กับเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจก่อนจะเกิดอาการของหอบหืดในระดับรุนแรงขึ้น
สารอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีดังนี้
โคลีน (Choline)
โคลีน เป็นสารอาหารที่คล้ายกับวิตามินบี โดยจะพบได้ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผัก และไข่ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ลดอาการบวมอักเสบ นอกจากในรูปแบบของอาหาร โคลีนยังเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำเป็นยาพ่นผ่านช่องปาก ขยายหลอดลม และบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยโรคหอบหืดเป็นได้ อย่างไรก็ตามโคลีนยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรปรึกษาหมอก่อนรับประทาน
แมกนีเซียม (Magnesium)
แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่สำคัญมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกในร่างกายให้แข็งแรง แต่นอกจากจะช่วยบำรุงกระดูก แมกนีเซียมยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมผ่อนคลาย ขยายทางเดินหายใจให้อากาศไหลเข้า และไหลออกจากปอดได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเฉียบพลันได้ และอาจปลอดภัยสำหรับผู้ที่รับประทานในปริมาณน้อยกว่า 350 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงอย่างไรควรคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจตามมาร่วม เช่น อาการท้องร่วง คลื่นไส้ หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หายใจลำบาก
พิกโนจีนอล(Pycnogenol)
พิกโนจีนอล เป็นสารประกอบของสารเคมีธรรมชาติที่มาจากเปลือกต้นสน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายได้รับความเสียหาย ช่วยลดอาการของ หอบหืด และโรคภูมิแพ้ได้ จากการวิจัยของสหรัฐอเมริกาในการศึกษาเด็กที่เป็นโรคหอบหืด แสดงให้เห็นว่าการรับประทานพิกโนจีนอลอย่างน้อย 5 สัปดาห์แรก ก่อนเข้าช่วงโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล อาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดปริมาณการับประทานยารักษาโรคหอบหืดบางชนิดลง แต่ขณะเดียวกันพิกโนจีนอลอาจไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้แก่ โรคลูปัส โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์
กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids)
จากการศึกษาในเด็กโดยนักวิจัยของสถาบัน Johns Hopkins Medicine เพิ่มหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ในอาหารอาจส่งผลบรรเทาอาการของ หอบหืด จากมลพิษทางอากาศได้ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ทูน่า วอลนัท น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น ในขณะเดียวกันโอเมก้า 6 อาจให้ผลตรงกันข้าม ทำให้เด็กมีโอกาสมีอาการของโรคหอบหืดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาหารที่มีโอเมก้า 6 ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด UFABET
|