[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
เมนูหลัก
หน่วยงานในวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย
งานนโยบายและแผนฯ
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 84 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หน่วยงานต่างๆ
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก



 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
5 จุดบนเครื่องบินที่สกปรก-พบเชื้อโรคมากที่สุด  VIEW : 187    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1788
ตอบแล้ว : 1
เพศ :
ระดับ : 34
Exp : 38%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 118.172.9.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 14:03:49    ปักหมุดและแบ่งปัน

5 จุดบนเครื่องบินที่สกปรก-พบเชื้อโรคมากที่สุด

นอกจากห้องน้ำ รถเมล์ รถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดินแล้ว เครื่องบินก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่รวมคนร้อยพ่อพันแม่เอาไว้มากมายจากทั่วทุกมุมโลกเช่นกัน และนั่นก็หมายถึงทุกๆ จุดของเครื่องบินล้วนแล้วแต่ได้รับการใช้ การสัมผัสจากผู้โดยสารมาแล้วนับไม่ถ้วน ดังนั้นความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่เราควรระมัดระวังให้มากที่สุด

แม้ว่าสายการบินเองอาจจะทำความสะอาดได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่หากเราหลีกเลี่ยงจุดที่เสี่ยงต่อความสกปรก หรือเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคได้มากที่สุด มันก็ยิ่งดี ยิ่งปลอดภัยต่อสุขภาพของเราด้วย จริงไหม

5 จุดบนเครื่องบินที่สกปรก-พบเชื้อโรคมากที่สุด

ถาดพับวางอาหารหลังเบาะโดยสาร
ผลการศึกษาจาก TravelMath ในปี 2015 ระบุว่า บนพื้นผิวของถาดวางอาหารบนเครื่องบินต่อตารางนิ้ว พบจำนวนแบคทีเรียมากกว่าขนาดพื้นที่เดียวกันบนที่กดชักโครกในห้องน้ำถึง 8 เท่า โดยสามารถพบเชื้อแบคทีเรียมากถึง 2,155 CFU ต่อตารางนิ้ว ในขณะที่ตามมาตรฐานแล้วจะพบเพียง 127 CFU ต่อตารางนิ้วบนฝารองนั่งชักโครกที่บ้าน โดยบางส่วนของเชื้อโรคที่พบเจอบนถาดวางอาหารบนเครื่องบิน ได้แก่ เชื้อหวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ โนโรไวรัสที่ทำให้ท้องเสีย และอาเจียน และซูเปอร์บัค MRSA ที่อาจทำให้เกิดอาการผิวหนังติดเชื้อ

สาเหตุที่พบเชื้อแบคทีเรียเป็นจำนวนมากบนถาดวางอาหาร อาจเป็นเพราะตารางบินที่กระชั้นชิด จนพนักงานไม่มีเวลามากพอที่จะทำความสะอาดถาดวางอาหารได้ดีเพียงพอ และอาจไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้

ตะแกรงระบายอากาศ และหัวเข็มขัดนิรภัย
จากผลการศึกษาของ TravelMath พบเชื้อแบคทีเรียจำนวน 285 CFU ต่อตารางนิ้วบนตะแกรงระบายอากาศเหนือศีรษะผู้โดยสาร ซึ่งก็ยังเป็นจำนวนมากกว่าเชื้อโรคบนที่กดชักโครกอยู่ดี

หัวเข็มนิรภัยก็เช่นกัน พบเชื้อโรคมากถึง 230 CFU ต่อตารางนิ้ว เพราะเป็นส่วนที่ผู้โดยสารต้องจับอยู่บ่อยๆ อย่างน้อยก็ 2 ครั้งขึ้นไป ทางแก้ง่ายๆ คือ พกเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคขวดเล็กๆ ขึ้นเครื่องบินไปด้วย และบีบใช้เรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่โดยสาร

ห้องน้ำ
แม้ว่าสายการบินชื่อดังระดับโลกหลายแห่งยืนยันว่าพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำอยู่เรื่อยๆ และฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งเมื่อข้ามวัน หรือทุกเที่ยวบินที่ใช้เวลานาน แต่ก็ยังพบเชื้อโรคเป็นจำนวนมากได้อยู่ดี โดยเฉพาะเชื้ออีโคลีที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียบนอ่างล้างหน้า ที่กดชักโครก และฝารองนั่งบนชักโครก TravelMath พบเชื้อโรคจำนวน 265 CFU ต่อตารางนิ้วบนที่กดชักโครก คำแนะนำง่ายๆ คือ ใช้กระดาษชำระห่อจับลูกบิด และกลอนประตู เพื่อออกจากห้องน้ำ แทนการจับด้วยมือเปล่า จะช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียที่มือจากห้องน้ำบนเครื่องบินได้

ที่ใส่ของหลังเบาะผู้โดยสาร
ใครที่เคยโดยสารเครื่องบินคงจะเคยนำแก้วน้ำ ขวดน้ำ ห่อขนม กระดาษทิชชู่ หรืออะไรต่อมิอะไรไปเสียบเอาไว้ในช่องนี้กันมาบ้าง (ระหว่างรอพนักงานมาเก็บ) แม้ว่าพนักงานอาจจะเก็บขยะไปทิ้งหลังจากผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน แต่ก็มีโอกาสที่จะมีเชื้อโรคติดอยู่ที่หลังเบาะหากไม่ได้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่ฆ่าเชื้อโรคได้ เชื้อโรคดื้อยา หรือซูเปอร์บัคอย่าง MRSA สามารถอยู่หลังเบาะโดยสารนั้นได้นานถึง 7 วันเลยทีเดียว ทางออกง่ายๆ ที่จะหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคจากช่องใส่ของหลังเบาะก็คือ ไม่ต้องใช้มันเลยนั่นแหละ

ที่นั่งริมทางเดิน
บางคนเลือกที่จะนั่งที่นั่งริมทางเดินเพราะลุกนั่งสะดวกสบาย แต่ก็เป็นความสะดวกสบายที่ต้องแลกมากับความเสี่ยงที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพราะเบาะริมทางเดินจะโดนสัมผัสจากมือของคนอื่นๆ ที่เพิ่งเดินออกมาจากห้องน้ำมากมาย โดยเฉพาะริมเบาะที่นั่งบริเวณศีรษะ เพราะฉะนั้นหากใครนั่งที่นั่งริมทางเดิน เมื่อไรที่งีบหลับก็อย่าเอนหัวไปทางนั้นจะดีกว่า และหากเป็นระยะเวลาเดินทางสั้นๆ เลือกที่นั่งริมหน้าต่างก็จะปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ มากกว่า

ภาพประกอบจาก istockphoto

ขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com

ขอบคุณแหล่งที่มา : sanook.com


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





วิทยาลัยเทคโนโลยีโซ่พิสัย
237 หมุู่ 8 ต.คำแก้ว อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ 38170 โทรศัพท์ 042-086002 โทรสาร 042-086002