หลายคนที่ติดตามการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนของนักพูดคนนี้มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ เดี่ยว 1-13 จะรู้ว่า ตั้งแต่การแสดง เดี่ยว 7 ในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา อุดม แต้พานิช เริ่มที่จะพูดเชิงเสียดสีเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลมาโดยตลอด หรือแม้กระทั่งในการแสดงครั้งล่าสุดครั้งนี้ โน้ส-อุดม ก็ยังบอกว่า เขาล้อเลียนนายกรัฐมนตรี ของทุกรัฐบาลมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว
หลายคนที่เห็นไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่ โน้ส-อุดม พูด ก็อาจจะรู้สึกดีและมองว่า
โน้ส-อุดม กำลังทำสิ่งที่สังคมต้องการ
โน้ส-อุดม กำลังช่วยเหลือสังคมในแบบของเขา
หรือ โน้ส-อุดม อาจจะกำลังทำตัวเป็นแบบอย่าง ให้บุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่น ลองใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องสิ่งที่สังคมต้องการ
หรือใช้ภาษาที่นิยมใช้ในปัจจุบันว่า โน้ส-อุดม กำลัง Call out !
แต่การ Call out ของ โน้ส-อุดม เหมือนกับ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองคนอื่นๆ อย่างเช่น เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล , ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไม่ ?
หากมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเช่นเดียวกัน
แต่ไฉนผลลัพธ์แห่งการ Call out นั้นช่างต่างกันเสียเหลือเกิน
สิ่งที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายๆ คนได้รับจากการ Call out คือ มาตรา 112 และการมีคดีติดตัวอีกหลายคดี
ผู้คนด้านล่างเวทีได้เห็นความกล้าในการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มผู้เรียกร้องบนเวที และอาจจะลามไปสู่การปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐ หลายคนเจ็บตัว บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
ในขณะที่การ Call out ของโน้ส-อุดม ผู้ที่เข้าร่วมชมการแสดง ได้มีม ได้มุขตลก สามารถเอาไปเล่นต่อหรือส่งต่อกันได้ทางโลกออนไลน์ ได้ความสุข เสียงหัวเราะ ไม่มีใครได้บาดแผลหรือมีคดีติดตัวกลับบ้าน
ส่วนคนบนเวที ได้เงินเป็นค่าตอบแทนจากการทำการแสดง
amp-accountants.com