‘ประวิตร’ หนุน ศธ.เดินหน้าโครงการบริหารจัดการน้ำฯ สอศ.ปลื้มเด็กแห่เรียน ‘หลักสูตรชลกร’ เล็งขยายผลทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ
เพื่อบูรณาการสร้างการเรียนรู้ของชุมชน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย ว่า นับว่าเป็นการยกระดับความเข้มแข็งของ
การดำเนินงานร่วมกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สนับสนุนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการร่วมลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในครั้งนี้
และในโอกาสนี้ ข้อเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของชาติ โดยปัจจุบันมีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ทำหน้าที่ในการบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีเอกภาพ
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวว่า ขอบคุณ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ในฐานะประธานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ
ที่เป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการน้ำเข้าสู่ระบบการศึกษา
ด้านคุณหญิงกัลยากล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจและแผนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของ ศธ. นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะสร้างคุณประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประเทศชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการสร้างศักยภาพ การผลิตชลกรและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

ด้าน ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า
สอศ.ได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร หรือชลกร ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จัดการเรียนการสอนการบริหารจัดการน้ำในทุกมิติ โดยหลักสูตรชลกร รุ่นที่ 1 ระดับ ปวส. ในภาคการศึกษา 2564 ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และนักเรียนทุกคนได้รับทุนการศึกษาเรียนฟรีตลอดหลักสูตร 2 ปี จากมูลนิธินโยบายสาธารณะไทย
“ในปี 2565 มีวิทยาลัยที่เข้าร่วมจัดการเรียนการสอนหลักสูตรชลกร รุ่นที่ 2 เพิ่มอีก 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย รวมเป็น 12 แห่ง ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ สอศ.มีแผนดำเนินการขยายผล หลักสูตรนักบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร สู่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั่วประเทศ รวมทั้งการพัฒนาครูผู้สอนโดยการอบรม Train the Trainers หลักการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน โดยมีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสังกัด สอศ. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนของแต่ละพื้นที่” ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าว
https://have-a-look.net/2022/10/19/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99-%e0%b8%a8%e0%b8%98-%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2/
|